วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การปฏิวัติฝรั่งเศส IV

การสิ้นสุดของสภาร่างรัฐธรรมนูญ 

แม้ว่าสมาชิกส่วนใหญ่ของสภาฯ จะนิยมระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มากกว่าระบอบสาธารณรัฐก็ตาม แต่ ณ ขณะนั้น พระเจ้าหลุยส์ก็ไม่ได้มีบทบาทมากไปกว่าหุ่นเชิด พระองค์ถูกบังคับให้ปฏิญาณตนต่อรัฐธรรมนูญ และให้ยอมรับเงื่อนไขที่ว่า หากกระทำการใด ๆ ที่จะชักนำให้กองทัพต่างชาติมาโจมตีฝรั่งเศส หรือกระทำสิ่งที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ให้ถือว่าพระองค์สละราชสมบัติโดยอัตโนมัติ
ขณะเดียวกันนั้น ฌอง ปิแอร์ บริสโซต์ ได้ร่างประกาศโจมตีพระเจ้าหลุยส์ มีสาระสำคัญว่า พระเจ้าหลุยส์ทรงสละราชสมบัติไปตั้งแต่พระองค์เสด็จออกจากพระราชวังทุยเลอรีส์แล้ว  ฝูงชนจำนวนมากพยายามเข้ามาใน ชอง เดอ มาร์ส เพื่อลงนามในใบประกาศนั้น ทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้น สภาร่างรัฐธรรมนูญได้ขอร้องให้เทศบาลกรุงปารีสช่วยรักษาความสงบ แต่ไม่สำเร็จ ในที่สุด กองทหารองครักษ์ ภายใต้การบัญชาการของลาฟาแยตต์ ก็ได้เข้ามารักษาความสงบ ฝูงชนได้ปาก้อนหินใส่องครักษ์ ในช่วงแรก องครักษ์โต้ตอบด้วยการยิงขึ้นฟ้า แต่ไม่สำเร็จ จึงจำต้องยิงปืนใส่ฝูงชน ทำให้ประชาชนตายไปประมาณ 50 คน 
หลังจากการสังหารหมู่ครั้งนี้ ทางการก็ได้ดำเนินการปราบปรามพวกสมาคมนิยมสาธารณรัฐต่า งๆ รวมทั้งหนังสือพิมพ์ของพวกนี้อีกด้วย หนังสือพิมพ์เพื่อนประชาชน (l'ami du peuple) ของมาราต์ บุคคลที่มีแนวคิดแบบนี้เช่น มาราต์และเดสมูแลงต่างพากันหลบซ่อน ส่วนดังตงหนีไปอังกฤษ
ขณะที่ภายในฝรั่งเศสกำลังวุ่นวาย เหล่าราชวงศ์ของยุโรป โดยมีแกนนำคือพระมหากษัตริย์ปรัสเซีย จักรพรรดิออสเตรีย และพระอนุชาของพระเจ้าหลุยส์ ก็ได้ร่วมมือกัน โดยมีเป้าหมายสำคัญคือให้พระเจ้าหลุยส์มีอิสรภาพสมบูรณ์และให้ยุบสมัชชาแห่งชาติ หากสิ่งเหล่านี้ไม่เกิดขึ้น ก็จะโจมตีฝรั่งเศสเพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมาย แต่ประชาชนชาวฝรั่งเศสไม่สนใจต่อคำประกาศดังกล่าว และเตรียมการต่อต้านอย่างแข็งขัน โดยส่งกำลังทหารไปยังชายแดน

การปฏิวัติฝรั่งเศส III

ผลของการปฏิวัติในช่วงแรก 

การยุติเอกสิทธิ 

สมัชชาแห่งชาติประกาศว่าประชาชนทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน และเลิกเอกสิทธิการงดเว้นภาษีของนักบวช รวมทั้งให้ทุกคนมีโอกาสเท่าเทียมในการประกอบอาชีพ ภายหลังจากการลงมติของสภาฯ ไม่กี่วันก่อนหน้านี้ คือวันที่ 3-4 สิงหาคม 1789 ซึ่งได้รับมติสนับสนุนอย่างท่วมท้นจากสมาชิกสภา

คำประกาศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมือง 

เป็นคำประกาศที่ปูทางไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญ ได้รับแรงบันดาลใจมาจากปรัชญาในยุคเรืองปัญญา และคำประกาศนี้ได้แบบอย่างจากรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา คำประกาศนี้ผ่านการพิจารณาของสภาฯ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1789 มีเนื้อหาหลักแสดงถึงหลักการพื้นฐานของการปฏิวัติ ภายใต้คำขวัญที่ว่า "เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ"
ในขณะนั้นมีข่าวลือในหมู่ประชาชนว่าจะมีการยึดอำนาจคืนของฝ่ายนิยมระบอบเก่าเมื่อชาวปารีสรู้ข่าวก็มีการตื่นตัวกันขนานใหญ่ ดังนั้นประชาชนชาวปารีสซึ่งส่วนมากเป็นผู้หญิง ได้เดินขบวนไปยังพระราชวังแวร์ซายและเชิญพระเจ้าหลุยส์พร้อมทั้งราชวงศ์มาประทับในกรุงปารีส ในวันที่ 5-6 ตุลาคม ปีเดียวกัน โดยมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่อนุรักษ์นิยมตามเสด็จกลับกรุงปารีสด้วย
สำหรับสมัชชาแห่งชาติ ในขณะนั้นประกอบด้วยสมาชิกที่หัวก้าวหน้าเป็นส่วนมาก แต่มีภารกิจสำคัญอันดับแรกของสภาคือการดำรงสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้ ดังนั้นจึงยังไม่มีการโค่นล้มสถาบันพระมหากษัตริย์ในขณะนั้น

การปฏิรูปครั้งใหญ่ 

รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของฝรั่งเศสมีผลบังคับใช้เมื่อปลายปี ค.ศ. 1789 ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังต่อไปนี้
  • ตำแหน่งต่าง ๆ ในราชการไม่สามารถตกทอดไปยังลูกหลาน
  • ยุบมณฑลต่าง ๆ, แบ่งประเทศออกเป็น 83 เขต (départements)
  • ก่อตั้งศาลประชาชน
  • ปฏิรูปกฎหมายฝรั่งเศส
  • การเวนคืนที่ธรณีสงฆ์ แล้วนำมาค้ำประกันพันธบัตร ที่ออกเพื่อระดมทุนจากประชาชน มาแก้ไขปัญหาหนี้ของประเทศ

การปฏิรูปสถานะของนักบวช 

นอกจากที่ธรณีสงฆ์จะถูกเวนคืนแล้ว การปกครองคริสตจักรในประเทศฝรั่งเศสก็ยังถูกเปลี่ยนแปลง ตามกฎหมายการปกครองคริสตจักรฉบับใหม่ที่ออกเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1790 โดยใช้การปกครองประเทศเป็นแม่แบบ คือกำหนดจำนวนมุขนายก (évêque) ไว้มุขมณฑลละ 1 ท่าน และให้เมืองใหญ่แต่ละเมืองมีอัครมุขนายก(archévêque) 1 ท่าน โดยมุขนายกและอัครมุขนายกแต่ละท่านจะถูกเลือกโดยสมัชชาแห่งชาติ และได้รับเงินเดือนจากรัฐบาล นอกจากนี้ ผู้ที่จะมาเป็นนักบวชในทุกระดับจะต้องสาบานตนว่าจะจงรักภักดีต่อประเทศอีกด้วย

การจับกุม ณ วาแรน 

มีข่าวลือสะพัดอย่างหนาหูว่า พระนางมารี อ็องตัวแน็ตนั้น ได้แอบติดต่อกับพระเชษฐา คือจักรพรรดิลีโอโพลด์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เพื่อจะให้ทรงยกทัพมาตีฝรั่งเศสและคืนอำนาจให้ราชวงศ์ ฝ่ายพระเจ้าหลุยส์นั้นไม่ได้ทรงพยายามหนีออกนอกประเทศหรือรับความช่วยเหลือ แต่จะทรงหนีไปตั้งมั่นอยู่กับนายพลบุยเล่ ที่จงรักภักดีและสัญญาว่าจะให้ความช่วยเหลือแก่พระองค์ พระองค์เสด็จออกจากพระราชวังตุยเยอรีในคืนวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 1791 แต่ทรงถูกจับได้ที่เมืองวาแรน ในวันต่อมา ส่งผลให้ความเชื่อถือของประชาชนที่มีต่อพระองค์นั้นลดลงอย่างมาก พระองค์ถูกนำตัวกลับมากักบริเวณในกรุงปารีส

 

ผลของการปฏิวัติในช่วงแรก 

การยุติเอกสิทธิ 

สมัชชาแห่งชาติประกาศว่าประชาชนทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน และเลิกเอกสิทธิการงดเว้นภาษีของนักบวช รวมทั้งให้ทุกคนมีโอกาสเท่าเทียมในการประกอบอาชีพ ภายหลังจากการลงมติของสภาฯ ไม่กี่วันก่อนหน้านี้ คือวันที่ 3-4 สิงหาคม 1789 ซึ่งได้รับมติสนับสนุนอย่างท่วมท้นจากสมาชิกสภา

คำประกาศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมือง 

เป็นคำประกาศที่ปูทางไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญ ได้รับแรงบันดาลใจมาจากปรัชญาในยุคเรืองปัญญา และคำประกาศนี้ได้แบบอย่างจากรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา คำประกาศนี้ผ่านการพิจารณาของสภาฯ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1789 มีเนื้อหาหลักแสดงถึงหลักการพื้นฐานของการปฏิวัติ ภายใต้คำขวัญที่ว่า "เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ"
ในขณะนั้นมีข่าวลือในหมู่ประชาชนว่าจะมีการยึดอำนาจคืนของฝ่ายนิยมระบอบเก่าเมื่อชาวปารีสรู้ข่าวก็มีการตื่นตัวกันขนานใหญ่ ดังนั้นประชาชนชาวปารีสซึ่งส่วนมากเป็นผู้หญิง ได้เดินขบวนไปยังพระราชวังแวร์ซายและเชิญพระเจ้าหลุยส์พร้อมทั้งราชวงศ์มาประทับในกรุงปารีส ในวันที่ 5-6 ตุลาคม ปีเดียวกัน โดยมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่อนุรักษ์นิยมตามเสด็จกลับกรุงปารีสด้วย
สำหรับสมัชชาแห่งชาติ ในขณะนั้นประกอบด้วยสมาชิกที่หัวก้าวหน้าเป็นส่วนมาก แต่มีภารกิจสำคัญอันดับแรกของสภาคือการดำรงสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้ ดังนั้นจึงยังไม่มีการโค่นล้มสถาบันพระมหากษัตริย์ในขณะนั้น

การปฏิรูปครั้งใหญ่ 

รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของฝรั่งเศสมีผลบังคับใช้เมื่อปลายปี ค.ศ. 1789 ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังต่อไปนี้
  • ตำแหน่งต่าง ๆ ในราชการไม่สามารถตกทอดไปยังลูกหลาน
  • ยุบมณฑลต่าง ๆ, แบ่งประเทศออกเป็น 83 เขต (départements)
  • ก่อตั้งศาลประชาชน
  • ปฏิรูปกฎหมายฝรั่งเศส
  • การเวนคืนที่ธรณีสงฆ์ แล้วนำมาค้ำประกันพันธบัตร ที่ออกเพื่อระดมทุนจากประชาชน มาแก้ไขปัญหาหนี้ของประเทศ

การปฏิรูปสถานะของนักบวช 

นอกจากที่ธรณีสงฆ์จะถูกเวนคืนแล้ว การปกครองคริสตจักรในประเทศฝรั่งเศสก็ยังถูกเปลี่ยนแปลง ตามกฎหมายการปกครองคริสตจักรฉบับใหม่ที่ออกเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1790 โดยใช้การปกครองประเทศเป็นแม่แบบ คือกำหนดจำนวนมุขนายก (évêque) ไว้มุขมณฑลละ 1 ท่าน และให้เมืองใหญ่แต่ละเมืองมีอัครมุขนายก(archévêque) 1 ท่าน โดยมุขนายกและอัครมุขนายกแต่ละท่านจะถูกเลือกโดยสมัชชาแห่งชาติ และได้รับเงินเดือนจากรัฐบาล นอกจากนี้ ผู้ที่จะมาเป็นนักบวชในทุกระดับจะต้องสาบานตนว่าจะจงรักภักดีต่อประเทศอีกด้วย

การจับกุม ณ วาแรน 

มีข่าวลือสะพัดอย่างหนาหูว่า พระนางมารี อ็องตัวแน็ตนั้น ได้แอบติดต่อกับพระเชษฐา คือจักรพรรดิลีโอโพลด์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เพื่อจะให้ทรงยกทัพมาตีฝรั่งเศสและคืนอำนาจให้ราชวงศ์ ฝ่ายพระเจ้าหลุยส์นั้นไม่ได้ทรงพยายามหนีออกนอกประเทศหรือรับความช่วยเหลือ แต่จะทรงหนีไปตั้งมั่นอยู่กับนายพลบุยเล่ ที่จงรักภักดีและสัญญาว่าจะให้ความช่วยเหลือแก่พระองค์ พระองค์เสด็จออกจากพระราชวังตุยเยอรีในคืนวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 1791 แต่ทรงถูกจับได้ที่เมืองวาแรน ในวันต่อมา ส่งผลให้ความเชื่อถือของประชาชนที่มีต่อพระองค์นั้นลดลงอย่างมาก พระองค์ถูกนำตัวกลับมากักบริเวณในกรุงปารีส

การสิ้นสุดของสภาร่างรัฐธรรมนูญ 

แม้ว่าสมาชิกส่วนใหญ่ของสภาฯ จะนิยมระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มากกว่าระบอบสาธารณรัฐก็ตาม แต่ ณ ขณะนั้น พระเจ้าหลุยส์ก็ไม่ได้มีบทบาทมากไปกว่าหุ่นเชิด พระองค์ถูกบังคับให้ปฏิญาณตนต่อรัฐธรรมนูญ และให้ยอมรับเงื่อนไขที่ว่า หากกระทำการใด ๆ ที่จะชักนำให้กองทัพต่างชาติมาโจมตีฝรั่งเศส หรือกระทำสิ่งที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ให้ถือว่าพระองค์สละราชสมบัติโดยอัตโนมัติ
ขณะเดียวกันนั้น ฌอง ปิแอร์ บริสโซต์ ได้ร่างประกาศโจมตีพระเจ้าหลุยส์ มีสาระสำคัญว่า พระเจ้าหลุยส์ทรงสละราชสมบัติไปตั้งแต่พระองค์เสด็จออกจากพระราชวังทุยเลอรีส์แล้ว  ฝูงชนจำนวนมากพยายามเข้ามาใน ชอง เดอ มาร์ส เพื่อลงนามในใบประกาศนั้น ทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้น สภาร่างรัฐธรรมนูญได้ขอร้องให้เทศบาลกรุงปารีสช่วยรักษาความสงบ แต่ไม่สำเร็จ ในที่สุด กองทหารองครักษ์ ภายใต้การบัญชาการของลาฟาแยตต์ ก็ได้เข้ามารักษาความสงบ ฝูงชนได้ปาก้อนหินใส่องครักษ์ ในช่วงแรก องครักษ์โต้ตอบด้วยการยิงขึ้นฟ้า แต่ไม่สำเร็จ จึงจำต้องยิงปืนใส่ฝูงชน ทำให้ประชาชนตายไปประมาณ 50 คน 
หลังจากการสังหารหมู่ครั้งนี้ ทางการก็ได้ดำเนินการปราบปรามพวกสมาคมนิยมสาธารณรัฐต่า งๆ รวมทั้งหนังสือพิมพ์ของพวกนี้อีกด้วย หนังสือพิมพ์เพื่อนประชาชน (l'ami du peuple) ของมาราต์ บุคคลที่มีแนวคิดแบบนี้เช่น มาราต์และเดสมูแลงต่างพากันหลบซ่อน ส่วนดังตงหนีไปอังกฤษ
ขณะที่ภายในฝรั่งเศสกำลังวุ่นวาย เหล่าราชวงศ์ของยุโรป โดยมีแกนนำคือพระมหากษัตริย์ปรัสเซีย จักรพรรดิออสเตรีย และพระอนุชาของพระเจ้าหลุยส์ ก็ได้ร่วมมือกัน โดยมีเป้าหมายสำคัญคือให้พระเจ้าหลุยส์มีอิสรภาพสมบูรณ์และให้ยุบสมัชชาแห่งชาติ หากสิ่งเหล่านี้ไม่เกิดขึ้น ก็จะโจมตีฝรั่งเศสเพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมาย แต่ประชาชนชาวฝรั่งเศสไม่สนใจต่อคำประกาศดังกล่าว และเตรียมการต่อต้านอย่างแข็งขัน โดยส่งกำลังทหารไปยังชายแดน

การปฏิวัติฝรั่งเศส II

การปฏิวัติ 

การประชุมสภาฐานันดร 

ค.ศ. 1789 พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงเรียกประชุมสภาฐานันดร ซึ่งมีการประชุมครั้งล่าสุดในปี ค.ศ. 1614 ก่อนหน้าการประชุม ได้มีการถวายฎีกาทั่วประเทศ มีการควบคุมและห้ามการเผยแพร่ใบปลิวที่มีเนื้อหาเสรีจนน่าจะเป็นอันตราย เนคเกร์ที่ถูกเรียกกลับมาดำรงตำแหน่งในปี พ.ศ. 2331 ได้เรียกร้องให้มีการเพิ่มจำนวนตัวแทนจากชนชั้นที่ 3 ให้มากขึ้นเป็น 2 เท่า เพราะจำนวนตัวแทนในขณะนั้นมีน้อยเกินไป และเขายังเรียกร้องให้ปลดตัวแทนบางส่วนจากฐานันดรที่ 1 และ 2 ด้วย
การประชุมมีขึ้นที่พระราชวังแวร์ซายในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2332 การประชุมครั้งนี้ใช้ระบบลงคะแนนคือ 1 ฐานันดรต่อ 1 เสียง ซึ่งไม่ยุติธรรม เพราะฐานันดรที่สามซึ่งมีจำนวนถึง 90% ของประชากรกลับได้คะแนนเสียงเพียง 1 ใน 3 ของสภา และวิธีการลงคะแนนนี้จะทำให้ฐานันดรที่สามไม่มีทางมีเสียงเหนือกว่า 2 ฐานันดรแรก โดยเสนอให้ลงคะแนนแบบ 1 คน 1 เสียงแทน เมื่อข้อเสนอนี้ถูกปฏิเสธ ทำให้ตัวแทนฐานันดรที่ 3 ไม่พอใจเป็นอย่างมากจึงไม่เข้าร่วมการประชุม และไปตั้งสภาของตนเอง เรียกว่า สมัชชาแห่งชาติ ซึ่งเปิดประชุมเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ปีเดียวกัน สภานี้ยังมีตัวแทนจากฐานันดรที่ 1 และที่ 2 บางส่วนเข้าร่วมประชุมด้วย ได้แก่ตัวแทนส่วนใหญ่ของชนชั้นนักบวช และตัวแทนที่เป็นขุนนางหัวสมัยใหม่นำโดยมิราโบ 
สมัชชาแห่งชาตินี้ ประกาศว่า สภาของตนเท่านั้นที่มีสิทธิ์ขึ้นภาษี เนื่องจากไม่ไว้วางใจการทำงานของรัฐบาลของพระเจ้าหลุยส์ ที่สนับสนุนแต่ขุนนางและพระ พระเจ้าหลุยส์พยายามหาทางประนีประนอมโดยเสนอว่าจะจัดประชุมสภาฐานันดรขึ้นอีก พวกขุนนางและพระตอบตกลง แต่สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมประชุม โดยไปจัดการประชุมของตัวเองขึ้นที่สนามเทนนิส ในวันที่ 20 มิถุนายน โดยมีมติว่าจะไม่ยุบสภานี้จนกว่าประเทศฝรั่งเศสจะได้รัฐธรรมนูญ เรียกว่า คำปฏิญาณสนามเทนนิส

เปิดฉากการปฏิวัติ 

หลังจากที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ถูกกดดันจากกองทัพ พระองค์ก็ทรงเรียกร้องให้ตัวแทนจาก 2 ฐานันดรแรกเข้าร่วมประชุมสภา Assemblée Nationale ด้วยเพื่อร่างรัฐธรรมนูญ ทำให้เกิดสภาใหม่ในวันที่ 9 กรกฎาคม คือ สภาร่างรัฐธรรมนุญ

การทลายคุกบาสตีย์ 

ทว่า หลังจากนั้นไม่นาน พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศสก็ได้รับการกดดันอีกครั้งจากพระนางมารี อ็องตัวแน็ต และพระอนุชาของพระองค์ คือ Comte d'Artois ซึ่งจะได้เป็นพระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสในอนาคต ทำให้พระองค์ทำการเรียกกองทหารที่จงรักภักดีต่อพระองค์จากต่างประเทศเข้ามาประจำการในกรุงปารีสและพระราชวังแวร์ซาย ทำให้เกิดความโกรธแค้นในหมู่ประชาชน นอกจากนี้พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ยังทรงปลดเนคเกร์ลงจากตำแหน่งอีกครั้ง ทำให้ประชาชนออกมาก่อจลาจลเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม และทลายคุกบาสตีย์ ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ได้ในวันที่ 14 กรกฎาคม
หลังจากนั้นพระเจ้าหลุยส์ก็เรียกเนคเกร์มาดำรงตำแหน่งอีกครั้งในวันที่ 16 กรกฎาคม เนคเกร์ได้พบกับประชาชนที่ศาลาว่าการกรุงปารีส (l'Hôtel de Ville) ซึ่งถูกประดับไปด้วยธงสามสีคือแดง ขาว น้ำเงิน วันเดียวกันนั้น Comte d'Artois ก็ได้ทรงหนีออกนอกประเทศ ถือเป็นพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์แรก ๆ ที่หนีออกนอกประเทศในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส
หลังจากนั้นไม่นาน เทศบาลและกองกำลังติดอาวุธของประชาชน (Garde Nationale) ก็ได้ถูกตั้งขึ้นอย่างรีบเร่งโดยประชาชนชาวปารีส ในไม่ช้าทั่วประเทศก็มีกองกำลังติดอาวุธของประชาชนตามอย่างกรุงปารีส กองกำลังนี้อยู่ใต้การบัญชาการของนายพลเดอลาฟาแยตต์ ซึ่งผ่านสงครามปฏิวัติอเมริกามาแล้ว เมื่อพระเจ้าหลุยส์เห็นว่าทหารต่างชาติไม่สามารถรักษาความสงบไว้ได้ ก็ทรงปลดประจำการทหารเหล่านั้น 

 

การปฏิวัติฝรั่งเศส

การปฏิวัติฝรั่งเศส


การปฏิวัติฝรั่งเศส ระหว่าง ค.ศ. 1789-1799 เป็นยุคสมัยแห่งกลียุค (upheaval) ทางสังคมและการเมืองที่เปลี่ยนถึงรากฐานในฝรั่งเศสซึ่งมีผลกระทบใหญ่หลวงต่อฝรั่งเศสและยุโรปที่เหลือ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ปกครองฝรั่งเศสมาหลายศตวรรษล่มสลายลงใน 3 ปี สังคมฝรั่งเศสผ่านการปฏิรูปขนานใหญ่ โดยเอกสิทธิ์ในระบบเจ้าขุนมูลนายของอภิชนและทางศาสนาหมดสิ้นไปภายใต้การประทุษร้ายอย่างต่อเนื่องจากกลุ่มการเมืองฝ่ายสาธารณรัฐมูลวิวัติ ฝูงชนบนท้องถนนและชาวนาในชนบท  ความคิดเก่าเกี่ยวกับประเพณีและลำดับชั้นบังคับบัญชา ของอำนาจพระมหากษัตริย์ อภิชนและศาสนา ถูกโค่นล้มอย่างฉับพลันโดยความเสมอภาค ความเป็นพลเมืองและสิทธิที่ไม่โอนให้กันได้ อันเป็นหลักการใหม่แห่งยุคเรืองปัญญา
การปฏิวัติฝรั่งเศสเริ่มต้นใน ค.ศ. 1789 ด้วยการเรียกประชุมสภาฐานันดรในเดือนพฤษภาคม ในปีแรกของการปฏิวัติ เกิดเหตุการณ์สมาชิกฐานันดรที่สามประกาศคำปฏิญาณสนามเทนนิสในเดือนมิถุนายน การทลายคุกบาสตีย์ในเดือนกรกฎาคม คำประกาศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมืองในเดือนสิงหาคม และการเดินขบวนสู่แวร์ซายซึ่งบังคับให้ราชสำนักกลับไปยังกรุงปารีสในเดือนตุลาคม เหตุการณ์อีกไม่กี่ปีถัดมาส่วนใหญ่เป็นความตึงเครียดระหว่างสมัชชาเสรีนิยมต่าง ๆ และพระมหากษัตริย์ฝ่ายขวาแสดงเจตนาขัดขวางการปฏิรูปใหญ่
มีการประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐในเดือนกันยายน ค.ศ. 1792 และพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงถูกประหารชีวิตในปีถัดมา ภัยคุกคามจากนอกประเทศยังมีบทบาทครอบงำในพัฒนาการของการปฏิวัติ สงครามปฏิวัติฝรั่งเศสเริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1792 และสิ้นสุดลงด้วยชัยชนะของฝรั่งเศสที่อำนวยการพิชิตคาบสมุทรอิตาลี กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำและดินแดนส่วนใหญ่ทางตะวันตกของแม่น้ำไรน์ อันเป็นความสำเร็จซึ่งรัฐบาลฝรั่งเศสแต่ก่อนทำไม่ได้มาหลายศตวรรษ
ส่วนในประเทศ อารมณ์ของประชาชนได้เปลี่ยนการปฏิวัติถึงรากฐานอย่างสำคัญ จนลงเอยด้วยการขึ้นสู่อำนาจของมักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์และกลุ่มฌากอแบ็ง (Jacobins) และเผด็จการโดยแท้โดยคณะกรรมการความปลอดภัยสาธารณะระหว่างสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว ตั้งแต่ ค.ศ. 1793 ถึง 1794 ซึ่งมีผู้ถูกสังหารถึงระหว่าง 16,000 ถึง 40,000 คน   หลังกลุ่มฌากอแบ็งเสื่อมอำนาจและรอแบ็สปีแยร์ถูกประหารชีวิต คณะไดเรกทอรี (Directory) เข้าควบคุมรัฐฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1795 และถืออำนาจถึง ค.ศ. 1799 เมื่อถูกแทนที่ด้วยคณะกงสุล (Consulate) ภายใต้นโปเลียน โบนาปาร์ต
การปฏิวัติฝรั่งเศสนำมาซึ่งยุคใหม่ของฝรั่งเศส การเติบโตของสาธารณรัฐและประชาธิปไตยเสรีนิยม การแผ่ขยายของฆราวาสนิยม การพัฒนาอุดมการณ์สมัยใหม่และการประดิษฐ์สงครามเบ็ดเสร็จ   ทั้งหมดล้วนเกิดขึ้นระหว่างการปฏิวัติ เหตุการณ์สืบเนื่องซึ่งสามารถสืบยอนไปได้ถึงการปฏิวัติมีสงครามนโปเลียน การฟื้นฟูสถาบันพระมหากษัตริย์สองครั้งแยกกัน และการปฏิวัติอีกสองครั้ง (ค.ศ. 1830 และ 1848) ขณะที่ฝรั่งเศสสมัยใหม่ก่อร่างขึ้น

สาเหตุ

ผู้สนับสนุนแบบจำลองที่อิงประวัติศาสตร์ที่สุดบ่งชี้คุณลักษณะเดียวกันของระบอบเก่า (Ancien Régime) จำนวนมาก ว่าเป็นหนึ่งในบรรดาสาเหตุของการปฏิวัติ ปัจจัยทางเศรษฐกิจรวมถึงความหิวและทุพโภชนาการในประชากรกลุ่มที่แร้นแค้นที่สุด อันเนื่องมาจากราคาขนมปังที่สูงขึ้น หลังจากการเก็บเกี่ยวธัญพืชที่ให้ผลไม่ดีหลายปี การเก็บเกี่ยวที่เลว ซึ่งบางส่วนเกิดจากสภาพอากาศผิดปกติจากเอลนีโญ ร่วมกับพฤติการณ์ภูเขาไฟที่ลากีและกริมสวอทน์ใน ค.ศ. 1783-1784 ประกอบกับราคาอาหารที่สูงขึ้น และระบบการขนส่งที่ไม่เพียงพอซึ่งขัดขวางการส่งสินค้าอาหารปริมาณมากจากพื้นที่ชนบทไปยังศูนย์กางประชากรขนาดใหญ่มีส่วนทำให้สังคมฝรั่งเศสขาดเสถียรภาพในช่วงก่อนการปฏิวัติอย่างยิ่ง
อีกสาเหตุหนึ่งคือ การล้มละลายอย่างสิ้นเชิงของรัฐจากค่าสงครามที่ผ่านมาจำนวนมหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเครียดทางการเงินอันเกิดจากการเข้าไปมีส่วนร่วมในสงครามปฏิวัติอเมริกาของฝรั่งเศส ภาระของสังคมที่เกิดขึ้นจากสงครามรวมถึงหนี้สงครามมหาศาล ซึ่งการณ์ยิ่งเลวร้ายลงจากการสูญเสียการครอบครองอาณานิคมของฝรั่งเศสในทวีปอเมริกาเหนือและการครอบงำทางพาณิชย์ของบริเตนใหญ่ที่เพิ่มขึ้น ระบบการเงินที่ไม่มีประสิทธิภาพและล้าสมัยของฝรั่งเศสไม่สามารถจัดการกับหนี้สาธารณะได้ ซึ่งบางส่วนเกิดขึ้นจากภาระของระบบการเก็บภาษีอากรที่ไม่เพียงพอ เพื่อหาเงินใหม่เพื่อดักการผิดนัดชำระหนี้การกู้ยืมของรัฐบาล พระมหากษัตริย์จึงทรงยกเลิกสภาชนชั้นสูง (Assembly of Notables) ใน ค.ศ. 1787 test

 

แคว้นกอล


แคว้นกอล

ชาวเคลท์ (Celts) อาศัยอยู่ในฝรั่งเศสและดินแดนรอบข้างมานานตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งชาวโรมันเรียกพวกเคลท์ว่ากอล และเรียกดินแดนของพวกเขาว่าแคว้นกอล เมืองต่างๆในฝรั่งเศสปัจจุบันก็มีรากฐานมาจากชาวโกล เช่น เมืองลูเทเทีย (ปารีส) เบอร์ดิกาลา (บอร์โดซ์) โทโลซา (ตูลูส) ส่วนนักเดินเรือชาวกรีกก็ตั้งอาณานิคมที่มาซซาเลีย (มาร์เซย) และนิคาเอีย (นีซ) ใน 390 ปีก่อนค.ศ. เบรนนุสผู้นำเผ่าโกลนำทัพบุกทำลายกรุงโรม ทำให้ชาวโรมันมีความแค้นฟังใจกับชาวโกล
ใน 58 ปีก่อนค.ศ. จูเลียส ซีซาร์ ได้เป็นกงสุลแห่งโกล (ผู้ครองแคว้นกอล) จึงทำทัพเข้าพิชิตแคว้นกอลทั้งหมดได้เมื่อ 52 ปีก่อนvค.ศ. ในยุทธการที่อเลเซีย ซึ่งผู้นำเผ่ากอล เวอร์ซินเกโทริก (Vercingetorix) พ่ายแพ้และยอมจำนน แคว้นกอลและชาวกอลจึงตกอยู่ภายใต้การปกครองของโรมัน
ชางโรมันแบ่งแคว้นกอลออกเป็น 5 แคว้น คือ แกลเลียซิซัลพินาแกลเลียนาร์โบเนนซิสแกลเลียแอควิเทเนียแกลเลียลุกโดเนนซิส และ แกลเลียเบลจิกา ชาวโรมันกวาดต้อนชาวเคลท์กระจัดกระจายไปทั่วจักรวรรดิโรมันเพื่อป้องกันการรวมตัวต่อต้าน จนวัฒนธรรมโรมันเข้าแทนที่วัฒนธรรมเคลท์ในแคว้นกอล ผสมผสานรวมกันเป็นวัฒนธรรมกาลโล-โรมัน (Gallo-Roman Culture) ในปี ค.ศ. 260 ขณะที่จักรวรรดิโรมันกำลังวิกฤต แคว้นกอลได้แตกแยกออกมาเป็นจักรวรรดิกัลลิก (Gallic Empire) แต่ก็ถูกจักรพรรดิออเรเลียนผนวกอีกครั้งใน ค.ศ. 274
เมื่ออำนาจของจักรวรรดิโรมันเลื่อมลง ชนเผ่าเยอรมันก็สามารถรุกรานเข้าแคว้นโกลได้ เริ่มด้วยพวกแวนดัล (Vandals) ใน ค.ศ. 406 และพวกวิซิกอธ ได้รับแคว้นอากีแตนใน ค.ศ. 410 ใน ค.ศ. 451 อัตติลาเดอะฮั่นยายามจะบุกโกลแต่ชาวโรมันร่วมมือกับพวกวิสิโกธสามารถต้านทานไว้ได้