• ประวัติมุมตาส มาฮาล
• มุมตาส มาฮาล : นางอันเป็นที่รัก • มุมตาส มาฮาล เกิดเมื่อ พ.ศ. 2135 เป็นเชื้อชาติเปอร์เซีย เป็นธิดาของซัฟคาน น้องชายของพระนางเจ้านูรชาหัน ราชินีผู้กุมอำนาจไว้แต่ผู้เดียวในสมัยชาหังคีร์ อาซัฟคาน เป็นผู้ที่เลี้ยงดูชาห์ชาฮันมาตั้งแต่เยาว์วัย และเป็นผู้ที่ช่วยทำให้ชาห์ชาฮันได้รับราชสมบัติและขึ้นครองราชย์ • กษัตริย์ชาห์ชาฮัน เป็นผู้สร้างทัชมาฮาลให้แก่พระชายาของพระองค์คือ มุมตาส มาฮาล ซึ่งทรงให้ด้วยความรักที่มีต่อตัวนาง ไม่ใช่สร้างด้วยความหลงใหล เพราะความรักที่ชาห์ชาฮันไม่ใช่เป็นเรื่องหลงใหลในรูปโฉมหรือเสน่ห์ของนางแต่อย่างใด แต่เป็นความรักที่สามีรักภรรยาด้วยดวงใจอันบริสุทธิ์ มุมตาส เป็นชายาคู่ทุกข์คู่ยากของชาห์ชาฮัน และทำหน้าที่เพียงอย่างเดียวต่อมีต่อชาห์ชาฮันคือ หน้าที่ภริยาที่ดี มุมตาสให้กำเนิดบุตรธิดาแก่ชาห์ชาฮัน ถึง 14 คนและสิ้นชีพเมื่อคลอดลูกคนที่ 14 • มุมตาส มาฮาล ไม่ได้เป็นผู้หญิงที่สวยกว่าหญิงอื่นทั้งหลายในสมัยเดียวกัน นางเป็นคนหน้ารูปไข่ ร่างใหญ่ ไหล่กว้าง จนแลเห็นพระเศียรและดวงพระพักตร์เล็กไป พระโอษฐ์เล็ก พระเนตรเล็ก คางเสี้ยม ส่วนรวมของดวงหน้าและรูปร่างทั้งหมดแสดงลักษณะของหญิงที่เกิดมาเป็นแม่มากกว่าเป็นเมีย • นามเดิมของมุมตาส มาฮาล คือ อารชุมันด์ บานุ แต่งงานกับกษัตริย์ชาห์ชาฮันก่อนได้รับราชสมบัติ เมื่อนางอายุ 19 ปี ซึ่งพระเจ้าชาห์ชาฮันมีพระชนม์มายุได้ 36 พรรษา เมื่อชาห์ชาฮันขึ้นเสวยราชย์แล้ว จึงพระราชทานนามแก่พระชายาว่า มุมตาส มาฮาล แปลว่า ความรุ่งโรจน์ในพระราชวัง วินเซนต์ สมิธ ผู้เขียนประวัติศาสตร์อินเดียอธิบายว่า ชื่อทัชมาฮาล เป็นคำที่เลือนมาจากชื่อของ มุมตาส มาฮาล ที่แปลว่า ยิ่งใหญ่ • ในประวัติของมุมตาส มาฮาล แสดงให้เห็นความอ่อนโยนและเมตตากรุณาตลอดมา มุมตาสไม่เคยใช้อำนาจวาสนาในทางร้ายแรง มุมตาส ทำตนเป็นเพื่อนชีวิตที่ดีของชาห์ชาฮันอย่างแท้จริง ติดตามเสด็จไปทุกที่ที่ชาห์ชาฮันออกพระราชกรณียกิจแม้กระทั่งไปสงคราม มุมตาสก็ติดตามพระสวามีไปด้วยเสมอ มุมตาสมีความรู้เรื่องรัฐศาสตร์ อักษรศาสตร์ และยุทธศาสตร์เป็นอย่างดี ดั้งนั้น จึงได้เป็นที่ปรึกษาภารกิจของพระเจ้าชาห์ชาฮันทั้งการปกครองและการวางแผนการทำสงคราม • จนเมื่อมุมตาส มาฮาลคลอดลูกคนที่ 14 และสิ้นชีพนั้น มุมตาสมีอายุเพียง 39 ปี ในปี พ.ศ. 2172 นำความเศร้าโศกเสียใจแก่ชาห์ชาฮันอย่างสาหัส พระองค์ไม่ยอมเสวยพระกระยาหารเป็นเวลาถึง 7 วัน ได้แต่ทรงคร่ำครวญตลอดเวลา นับจากวันสิ้นพระชนม์ของมุมตาสนั้น ชาห์ชาฮันไม่ออกว่าราชการ ห้ามมีการบรรเลงดนตรีในพระราชวัง ห้ามแต่งเครื่องเพชรนิลจินดา และห้ามแต่งเครื่องแต่งกายสีอื่นนอกจากสีขาวอันเป็นสีไว้ทุกข์ และพระองค์ได้ให้ประชาชนทั่วราชอาณาจักรไว้ทุกข์ให้แก่พระนางมุมตาสเป็นเวลา 2 ปี โดยมีคำสั่งถ้าผู้ใดขัดขืนก็ให้ฆ่าทิ้งเสีย • ในปีที่มุมตาสสิ้นพระชนม์นั่นเอง ชาห์ชาฮันได้สั่งหาช่าง ทั้งในอินเดียและในประเทศใกล้เคียง คือ เปอร์เซีย อาหรับ และตุรกี คิดรูปเสนอแบบที่ฝังศพพระชายา ซึ่งทรงได้แบบมาหลายแบบ ซึ่งเป็นแบบที่ทำด้วยไม้ แต่ชาห์ชาฮันได้ทรงเลือกแบบจากสถาปนิกชาวตุรกี ชื่อ อิสา อาฟันดี มาสร้างทัชมาฮาลนี้ และได้ระดมช่างและคนงานมาจากที่ต่างๆ มาเป็นจำนวนมาก ถึงกับต้องสร้างเมืองให้คนเหล่านั้น ให้ชื่อว่าเมืองมุมตาสบาด แต่ภายหลังได้เปลี่ยนมาเป็นชื่อเมือง ทัชคันช์ • หลังจากที่สร้างทัชมาฮาลเสร็จแล้ว ชาห์ชาฮันก็อยู่ในราชสมบัติต่อมาได้อีก เพียง 7 ปีเท่านั้น ทั้งนี้เพราะว่า ภายหลังที่สร้างทัชมาฮาลเป็นที่ฝังศพพระชายาแล้ว ชาห์ชาฮัน ก็ใฝ่ฝันที่จะสร้างที่ฝังศพของตัวเองไว้ที่ฝั่งแม่น้ำยมนาอีกฟากหนึ่ง ให้เป็นปราสาทคู่กับทัชมาฮาล และปราสาทหลังใหม่นี้ จะสร้างด้วยหินอ่อนสีดำล้วนเพื่อให้คู่กับทัชมาฮาล ซึ่งทำด้วยหินอ่อนสีขาวล้วน แต่โอรังเซบ พระโอรสของพระองค์ เกรงว่าพระบิดาจะใช้เงินของคลังหลวงเสียหมด เมื่อตนขึ้นครองราชย์จะไม่มีเงินแผ่นดินเหลือไว้ โอรังเซบจึงจับพระบิดาขังไว้ ในปีพ.ศ. 2202 แล้วตั้งตัวเองขึ้นครองราชย์แทน ชาห์ชาฮันถูกขังอยู่ 7 ปี สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ.2209 โอรังเซปไม่ยอมสร้างที่ฝังพระศพไว้ให้กับชาห์ชาฮัน จึงนำศพพระบิดาไปฝังข้างศพพระมารดา ไว้ที่ปราสาททัชมาฮาลนั่นเอง • ทุกวันนี้ ทัชมาฮาลยังได้รับการกล่าวขานไปทั่วโลกว่า เป็นสิ่งก่อสร้างมหัศจรรย์ที่มีทั้งความงามและความลงตัว การชมทัชมาฮาลในเวลาที่ต่างกัน อาจทำให้เห็นทัศนียภาพและได้อารมณ์ความรู้สึกที่ต่างกัน | |||
ทัชมาฮาล | ทัชมาฮาล | ทัชมาฮาล | ทัชมาฮาล |
ทัชมาฮาล | ทัชมาฮาล | ทัชมาฮาล |
วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น