วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ประภาคารฟาห์โรห์

ตำแหน่งที่ตั้ง :    เกาะฟาโรส เมืองอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์
ปัจจุบัน       :      ไม่หลงเหลืออยู่แล้ว
 : รายละเอียด  :   
  กระโจมไฟฟาโรส หรือ ประภาคารฟาโรส อันยิ่งใหญ่นี้ พระเจ้าปโตเลมีฟิลา เดลฟัส กษัตริย์ แห่งประเทศอียิปต์ เป็นผู้สร้างขึ้นด้วยหินอ่อนสลักลวดลายวิจิตร งดงาม อยู่บนเกาะฟาโรส ที่ อ่าวหน้าเมืองอเล็กซานเดรีย ประมาณ 271 ปีก่อนคริสตกาล สร้างขึ้นเพื่อ เป็นสัญลักษณ์ที่สังเกตเห็นแก่หมู่เรือทั้งหลาย ที่ไปมาติดต่อ ค้าขาย ในการเข้าไปยังเมืองท่า ซึ่งครั้งนั้นอียิปต์ เป็นประเทศที่เจริญในวิทยาการ ต่างๆ ใครๆ ก็ชอบติดต่อเหตุนี้จึงต้องสร้างประภาคารขึ้นจุดตะเกียงแก๊สตลอดทั้งคืน เพื่อให้ผู้ที่ไม่เคยเดินเรือใช้เป็นที่สังเกตจะได้ไม่หลงและนอกจากนั้นแล้ว ยังใช้เป็น หอคอยไว้ดูข้าศึกที่จะมารุกรานอีกด้วย

น้ำตกทีลอซู

น้ำตกทีลอซู มหัศจรรย์แห่งสายน้ำ สวยติดอันดับ ใน ของโลก 



น้ำตกทีลอซู ตั้งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ห่างจากที่ทำการเขตฯ 3 กิโลเมตร ทีลอซู เป็นภาษากะเหรี่ยง แปลว่า น้ำตกดำ มีลักษณะเป็นน้ำตกภูเขาหินปูนขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนความสูงจากระดับน้ำทะเล 900 เมตร เกิดจากลำห้วยกล้อท้อ ลำน้ำทั้งสายตกลงสู่หน้าผาสูงชัน มีน้ำไหลแรงตลอดปี ความกว้างของตัวน้ำตกประมาณ 500 เมตร ไหลลดหลั่นเป็นชั้น ๆ มีความสูงประมาณ 300 เมตร ล้อมรอบด้วยป่าดงดิบที่สมบูรณ์ เป็นน้ำตกที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 ของเอเชีย[ต้องการอ้างอิง]

ตามความจริงต้องออกเสียงว่า "ทีลอชู" และเป็นคำนามในภาษากะเหรี่ยงแปลว่า "น้ำตก" ชื่อ "ทีลอซู" เป็นความพยายามแปลความหมายทีละคำ โดย "ที" หรือ "ทิ" แปลว่า "น้ำ" "ลอ" หรือ "ล่อ" แปลว่า "ตก" แต่ "ชู" ไม่มีความหมายใกล้เคียง ดังนั้น จึงมีความพยายามทำให้เป็นคำที่มีความหมาย เนื่องจาก "ซู" แปลว่า "ดำ" จึงนำไปสู่การเรียกว่า "ทีลอซู" และแปลว่า "น้ำตกดำ"

ทีลอซู ได้รับคำกล่าวขานถึงว่าเป็นน้ำตกที่สวยงาม และมีความสวยงามเป็นพิเศษในช่วงฤดูฝน ระหว่าง 1 มิ.ย. - 31 พ.ย. ปริมาณน้ำฝนที่มากจะเพิ่มปริมาณน้ำในลำธารทำให้สายน้ำตกกว้างใหญ่กว่าฤดูอื่น แต่เป็นช่วงที่ทางรถเข้าน้ำตกปิด เพื่อป้องกันอันตรายแก่ผู้ใช้เส้นทางและถนอมสภาพทางไม่ให้เสียหาย นักท่องเที่ยวอาจเลี่ยงใช้เส้นทางนี้ได้ โดยการซื้อทัวร์กับบริษัทนำเที่ยวซึ่งจะเดินทางด้วยเรือยางและเดินป่าอีกราว 12 กม.แต่หากมาท่องเที่ยวช่วงฤดูหนาว - ฤดูร้อนระหว่าง 1 ธ.ค. - 31 พ.ค. ก็สามารถใช้ทางรถยนต์เข้าน้ำตกได้ จึงเป็นช่วงเวลาที่เที่ยวได้สะดวกที่สุด ไม่ว่าจะเที่ยวแบบไปกลับหรือพักค้างแรม

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้กำหนดให้น้ำตกทีลอซู เป็นหนึ่งในเก้าตะวัน ตามโครงการมหัศจรรย์เมืองไทย 12 เดือน 7 ดาว 9 ตะวัน โดยมีจุดเด่นคือ "มหัศจรรย์รุ้งกินน้ำที่น้ำตกทีลอซู"

ประวัติน้ำตกทีลอซู

ทีลอซู ได้รับการค้นพบโดยพรานชาวกะเหรี่ยงคนหนึ่งที่เดินเข้ามาล่าสัตว์ ก่อนที่ ตชด.ได้บินเข้ามาสำรวจในพื้นที่และได้พบน้ำตกทีลอชู ต่อมากรมป่าไม้จะประกาศให้บริเวณนี้เป็นเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง และหลังจากปี พ.ศ. 2528 ที่ อำเภอ ปรีชา อินทวงศ์ พาบุคลากรของนิตยสารท่องเที่ยวแคมปิง เข้าไปสำรวจน้ำตกทีลอซูและนำไปตีพิมพ์ลงนิตยสารจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้คนภายนอกรู้จัก

"ทีลอซู" หรือออกเสียงตามภาษาภาษาปะก่าหญอว่า "ที-หล่อ-ชู" ที แปลว่า น้ำ, หล่อ แปลว่า ไหล และ ชู แปลว่า ทิ้มแทง (หล่อ-ชู เป็น กิริยา หมายถึง การไหลลงมาอย่างแรงของน้ำปะทะกับพื้นเบื้องล่าง) ดังนั้นจึงแปลว่าน้ำตก (บางท่านบอกว่าแปลว่า น้ำตกดำ คำว่า "ดำ" ไม่ได้ออกเสียงว่า ซู แต่ออกเสียงคล้ายๆกัน ไม่รู้จะเขียนเป็นอักษรไทยอย่างไร เพราะเสียงนี้ไม่มีในภาษาไทย ต้องออกเสียงให้ฟังนะครับ ถึงจะแยกความแตกต่างได้) น้ำตกนี้ซ่อนอยู่ในหลืบผาอันกว้างใหญ่ สายน้ำเกิดจากห้วยกล้อทอซึ่งมีแดนกำเนิดอยู่บนดอยผะวี แล้วไหลลงแม่น้ำแม่กลองที่ ตำบล แม่ละมุ้ง อำเภอ อุ้มผาง

การค้นพบที่กล่าวถึงเป็นการพบของคนไทย จากงานของ ประชา แม่จัน ในหนังสือ "อุ้มผาง เบื้องหลังธรรมชาติ" [1] เขียนถึง บริเวณที่ตั้งแคมป์ทีลอชู เป็นบ้านเก่าชาวปกากะญอ (กะเหรี่ยง) เรียกว่า "ว่าชื่อคี" บริเวณที่จอดรถเป็นที่นาเก่าของชาวบ้านที่นี่ การที่เป็นบ้านร้างเพราะชาวบ้านบางส่วนได้ย้ายไปอยู่บ้านโขะทะเพื่อเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ที่เหลือย้ายเข้ามาอยู่กับฝ่ายรัฐบาล ดังนั้น ชาวปกากะญอที่นี่รู้จักน้ำตกทีลอชูมาช้านานแล้ว

สิ่งที่น่าสนใจ

เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติระยะทาง 1.5 กม.ก่อนถึงน้ำตกจะผ่านป่าไผ่และป่าเบญจพรรณ มีดอกกระเจียวขึ้นตามพื้นป่าระหว่างทางมีป้ายสื่อความหมายเกี่ยวกับธรรมชาติและพืชพันธุ์ตามจุดต่างๆ ให้นักท่องเที่ยวได้ศึกษา เมื่อถึงบริเวณน้ำตก จะเห็นละอองน้ำฟุ้งกระจายไปทั่วโขดหินเบื้องล่าง มองเห็นธารน้ำตกลงมาจากผาหินปูนซึ่งอยู่สูงประมาณ300ม. ตามแนวกว้างกว่า500 ม. ท่ามกลางป่าครึ้ม อาจแบ่งธารน้ำตกได้เป็นสามกลุ่ม คือกลุ่มด้านซ้ายมือ (เมื่อหันหน้าเข้าหาน้ำตก) เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดสูงที่สุด และเป็นด้านที่สวยที่สุด มีธารน้ำตกหลายสายไหลลดหลั่นลงมาเป็นชั้นเชิง ส่วนกลุ่มตรงกลาง สายน้ำไหลลงมาจากหน้าผาสูงชันใกล้เคียงกบกลุ่มซ้ายมือแต่ไม่เป็นชั้นและแคบกว่า ส่วนหลุ่มทางขวามือ มีสายน้ำตกมากและหน้าผาเตี้ยกว่าสองกลุ่มแรก เมื่อมองทั้งสามกลุ่มรวมกันจะเห็น น้ำตกทีลอซู ที่ยิ่งใหญ่และสวยงาม บริเวณด้านล่างมีทางเดินไปยังจุดชมวิวทิวทัศน์บนยอดเขาฝั่งตรงกันข้าม เป็นจุดที่มองเห็น น้ำตกทีลอซู ได้สวยงามและชัดเจนขึ้น ใช้เวลาเดินไปกลับประมาณ 2 ชม.





การเดินทาง

การเดินทาง รถยนต์ จากอำเภออุ้มผางใช้เส้นทางสายอุ้มผาง-แม่สอด ถึงหลักกิโลเมตรที่ 161 มีทางแยกซ้ายที่บ้านแม่กลองใหม่ไปด่านเดลอ หรือจุดตรวจ “เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง” เป็นระยะทาง 30 กิโลเมตร (สำหรับนักท่องเที่ยวที่ขับรถเข้าน้ำตกทีลอซูต้องติดต่อขอรับใบอนุญาตเข้าที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง (สป. ๗) ได้ที่ ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยว และอนุรักษ์อุ้มผางก่อนทุกครั้ง นักท่องเที่ยวต้องยื่น สป. 7 ที่ด่านเดลอ) จากนั้นเดินทางไปตามถนนลูกรังอีก 26 กิโลเมตร ถึงที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง ใช้เวลาในการเดินทางโดยรถยนต์ประมาณ 3 ชั่วโมง เส้นทางช่วงนี้เป็นทางดิน ควรใช้รถปิคอัพ หรือรถขับเคลื่อน 4 ล้อที่ช่วงล่างมีความสูงมากพอสมควร ในฤดูฝนรถอาจเข้าไม่ได้ และจากที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผางต้องเดินเท้าเข้าไปอีกประมาณ 3 กิโลเมตร จึงถึงตัวน้ำตกทีลอซู



สถานที่พัก

สถานที่พักผ่อนทริปท่องเที่ยวน้ำตกทีลอซู มีให้เลือกหลายรูปแบบ

1. ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง (นอนเต้นท์)

2. ในตัวเมืองอุ้มผาง ทั้งที่ติดแม่น้ำและไม่ติดแม่น้ำ การเดินทาง จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหมายเลข 1 สู่ จังหวัดตาก ก่อนถึง จังหวัดตาก ซ้ายมือมีทางแยกป้ายบอก

ทางเข้าสู่ อำเภอแม่สอด ระยะทางประมาณ 87 กิโลแมตร แล้วต่อจาก อำเภอแม่สอดไป อำเภออุ้มผาง เส้นทางนี้ ต้อง ระวังให้มาก เพราะเป็นเส้นถนนตัดผ่านเขาสลับซับซ้อนคดโค้งกว่าพันโค้ง ได้สัมญานามว่า"สายลอยฟ้า" ด้วยระยะทางประมาณ 164 กิโลเมตร กินเวลาประมาณ 4-5 ชั่งโมง ซึ่งไม่เบาเหมือนกัน ผู้ที่ขับรถไปเองต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ระหว่างทางทิวทัศน์ชวนให้หลงใหลเพลิดเพลินไปกับการเดินทาง จากเส้นทางอุ้มผางสู่น้ำตกทีลอซู ระยะทางประมาณ 43 กิโล ถึงเขตรักษาพันธุ์ฯ แล้วเดินเท้าเข้าไปที่น้ำตกอีก 1.8 กิโลก็จะถึงถึงน้ำตกทีลอซู ความเหน็ดเหนื่อยกับการเดินทางก็หมดสิ้นไป สายน้ำตกแห่งความอลังการทีลอซู รอการมาเยือนจากทุกท่าน ทุกวันเวลา

เรือควีนแมรี่





ตำแหน่งที่ตั้ง : ลองบีช รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา

ปัจจุบัน : เปิดใช้การอยู่ในปัจจุบัน

: รายละเอียด :   


เรือเดินสมุทร "ควีนแมรี่"ของอังกฤษลำนี้เป็นเรือสมุทรขนาดมหึมาใหญ่โตที่สุดของโลกเท่าที่มนุษย์สร้างขึ้นมา เพื่อรับส่งผู้โดยสารข้ามมหาสมุทร เรือลำนี้ต่อที่อู่ริมฝั่งแม่น้ำไคลต์ในประเทศสก็อตแลนด์ เมื่อ ค.ศ. 1939 มีราคา 25,000,000 เหรียญสหรัฐ มีน้ำหนักทั้งสิ้น 80,773 ตัน มีความยาว 300 เมตร (1,004 ฟุต) สูง 54 เมตร (180 ฟุต) เครื่องยนต์ขับเคลื่อน

มีกำลังทั้งหมด 200,000 แรงม้า อัตราความเร็วชั่วโมงละ 30 น็อตต่อชั่วโมง มีหม้อน้ำขนาด
ใหญ่ต้มน้ำมีน้ำหนักถึง 400 ตัน ให้เดือดกลายเป็นไอไปใช้เป็นพลังงานขับเคลื่อนใบจักร
และเครื่องกลต่างๆของลำเรืออยู่ทุก ๆ ชั่วโมง


เรือลำนี้บรรจุคนได้ประมาณ 2,075 คน บนดาดฟ้ามีที่ว่างทำสนามเล่นกีฬาได้ถึง 3
เอเคอร์ ภายในเรือมีร้านขายอาหาร สนามเด็กเล่น สำนักพิมพ์ สระว่ายน้ำ โรงพยาบาล และ
อุปกรณ์บริการความสุขอื่นๆ เครื่องอำนวยความสะดวก แก่ผู้โดยสารอย่างครบครัน เหมือน
กับเมืองขนาดย่อมที่ล่องลอยไปในท้องมหาสมุทร

แม้ว่าเรือควีนแมรี่จะมีขนาดใหญ่โต แต่ก็สามารถเดินทางจากเมืองท่าลิเวอร์พูล อังกฤษ
ถึงเมืองท่านิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา ข้ามมหาสมุทรอันลันติค ในเวลาเพียง 9 วัน ในระหว่าง
สงครามโลกครั้งที่ 2 เรือลำนี้หยุดเดินทางรับส่งผู้โดยสารเพราะเกรงจะถูกข้าศึกยิงจม แต่เมื่อ
สงครามผ่านพ้นไปแล้วก็ปรับปรุง ออกบริการผู้โดยสารอยู่อีกหลายปี เพิ่งมายุติการเดินทาง
เพื่อรับส่งผู้โดยสารในปี ค.ศ. 1967 โดยบริษัทเจ้าของขายให้แก่เศรษฐีอเมริกันคนหนึ่งเอาไปปรับปรุงใหม่ทำเป็นโรงแรม ภัตตาคาร และพิพิธภัณฑ์ลอยน้ำ ที่ ลองบีช รัฐแคลิฟอร์เนีย

ซึ่จะยังปรากฎให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ในอดีตต่อไปอีกนาน

เขื่อนยักษ์ฮูเวอร์

เขื่อนยักษ์ฮูเวอร์



ตำแหน่งที่ตั้ง : ที่แม่น้ำโคโลราโด ระหว่างรัฐเนวาดา กับรัฐอริโซนา ของ สหรัฐอเมริกา

ปัจจุบัน : ยังเปิดใช้การอยู่

: รายละเอียด :  


สร้างในสมัยประธานาฮิบดีฮูเวอร์ แห่งสหรัฐอเมริกา ใช้เวลาก่อสร้างนาน 7 ปี เขื่อนฮูเวอร์เป็น เขื่อนแรกที่สามารถเอาชนะธรรมชาติ คือ น้ำท่วมและสามารถเก็บกักน้ำ ทำให้เกิดทะเลสาบ ขนาดใหญ่ขึ้น เขื่อนฮูเวอร์มีลักษณะที่สำคัญคือ สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ยาว1,282 ฟุตสูง 727 ฟุต มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 17 เครื่อง ให้กำลังไฟฟ้า 1,835,000 กิโล วัตต์ เหนือเขื่อนเป็นทะเลสาบ ตามความยาวลำน้ำถึง 115 ไมล์ มีเนื้อที่ประมาณ 225ตารางไมล์

เขื่อนฮูเวอร์หรือฮูเวอร์แดม(Hoover Dam) และรู้จักในชื่อโบลเดอร์แดม(:Boulder Dam- เขื่อนหินยักษ์) เป็นเขื่อนคอนกรีตขนาดใหญ่กั้นแม่น้ำโคโลราโดตั้งอยู่บนเขตแดนของรัฐเนวาดาและรัฐแอริโซนาในสหรัฐอเมริกาสร้างเสร็จในปีพ.ศ.2478(ค.ศ. 1935)ซึ่งในขณะที่สร้างเสร็จเป็นเขื่อนและโครงสร้างคอนกรีตขนาดที่ใหญ่ที่สุดในโลก และกลายมาเป็นอันดับสองหลังจากเขื่อนแกรนด์คูลีสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2488 ปัจจุบันเขื่อนฮูเวอร์เป็นเขื่อนผลิตไฟฟ้าใหญ่เป็นอันดับที่ 34 ของโลก

เขื่อนฮูเวอร์ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของลาสเวกัสประมาณ 48 กิโลเมตร (30 ไมล์) เขื่อนฮูเวอร์ตั้งชื่อตามประธานาธิบดีเฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์(Herbert Hoover) ซึ่งเป็นผู้ผลักดันสำคัญของโครงการเขื่อนฮูเวอร์ตั้งแต่แรก การก่อสร้างเริ่มต้นในปีพ.ศ.2474และเสร็จในวันที่29 พฤษภาคมพ.ศ.2478ซึ่งเสร็จก่อนกำหนดถึง 2 ปี การสร้างเขื่อนฮูเวอร์ทำให้เกิดทะเลสาบฝีมือมนุษย์ คือทะเลสาบมี้ด(Lake Mead)

ตัวเขื่อนสูง 218 เมตร ฐานข้างล่างกว้าง 198 เมตร สันเขื่อนข้างบนกว้าง 13.5 เมตร ยาว 385 เมตร ใช้คอนกรีตเฉพาะสร้างตัวเขื่อน 3,250,000 ลูกบาศก์หลาและส่วนอื่นๆอีก 4,400,000 ลูกบาศก์หลา มีเครื่องทำไฟฟ้าจากน้ำตกรวม 17 เครื่อง ให้กำลังไฟฟ้า 1,835,000 กิโลวัตต์ การสร้างเขื่อนมีจุดประสงค์เพื่อป้องกันอุทกภัย กักน้ำไว้ใช้ในการกสิกรรม สงวนพันธ์ปลา สร้างกระแสไฟฟ้าด้วยพลังน้ำเขื่อนฮูเวอร์ตั้งอยู่ระหว่างเมืองลาสเวกัสและ ช่องแคบแกรนด์แคนยอน


ทำความรู้จัก 12 เขื่อนสูงที่สุดจากทั่วมุมโลก




          เขื่อนเป็นสิ่งก่อสร้างที่เกิดมาจากความอุตสาหะและความชาญฉลาดของมนุษย์ ซึ่งบางแห่งก็สร้างขึ้นเพื่อใช้ควบคุมแม่น้ำป้องกันอุทกภัยในระดับหนึ่ง ในขณะที่บางที่ทำขึ้นเพื่อกักเก็บน้ำเอามาหมุนเวียนใช้เป็นพลังงาน ทำให้แต่ละที่มีขนาดเล็กใหญ่แตกต่างกันไป มิหนำซ้ำยังมีนักออกแบบมากมายที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ทำให้เขื่อนแบบเดิม ๆ สวยงามยิ่งขึ้นจนกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวไปได้อีกด้วย 

          แล้วคุณเคยสงสัยบ้างหรือเปล่าว่า เขื่อนแห่งไหนกันที่จะมีขนาดสูงที่สุดในโลก ซึ่งถ้าคุณอยากรู้ล่ะก็ วันนี้กระปุกดอทคอมได้เอาคำตอบมาฝากคุณแล้ว มาดูกันเลยดีกว่าว่าเขื่อนที่สูงที่สุดในโลก 12 อันดับ มาจากที่ไหนกันบ้าง


เขื่อน Nurek, สาธารณรัฐทาจิกิสถาน
ภาพจาก TELUS

 1. เขื่อน Nurek, สาธารณรัฐทาจิกิสถาน

          บริเวณแม่น้ำ Vakhsh สาธารณรัฐทาจิกิสถาน ซึ่งนับเป็นประเทศที่เล็กที่สุดในเอเชียกลาง แถมยังขึ้นชื่อว่ายากจนที่สุดในสหภาพโซเวียตอีกด้วย แต่มันกลับเป็นบ้านเกิดของเขื่อนที่สูงที่สุดในโลกด้วยความสูงราว 300 เมตรนี้ โดยสหภาพโซเวียตสร้างมันขึ้นตั้งแต่ปี 1961 ก่อนจะเสร็จสิ้นในปี 1980 และติดตั้งเครื่องไฮโดรอิเล็คทริคไว้ถึง 9 อันด้วยกัน เพื่อใช้ในการหมุนเวียนพลังงาน แถมน้ำที่กักเก็บไว้ในเขื่อนยังมากที่สุดในสาธารณรัฐทาจิกิสถาน ทำให้มันเป็นแหล่งสร้างพลังงานน้ำที่ใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ ของโลกเลยทีเดียว 


เขื่อน Xiaowan, ประเทศจีน
ภาพจาก Chính
 2. เขื่อน Xiaowan, ประเทศจีน

          มาต่อด้วยเขื่อนอันดับ 2 ซึ่งมาจากทวีปเอเชียเช่นเดียวกัน ซึ่งก็คือประเทศมหาอำนาจอย่างจีนนั่นเอง โดยมันถูกสร้างขึ้นเพื่อหมุนเวียนพลังงานน้ำเป็นหลักในเดือนมกราคมปี 2002 เขื่อนบริเวณแม่น้ำโขง มณฑลยูนนาน ทางตอนใต้ของประเทศจีนแห่งนี้ จึงได้ติดตั้งเครื่องไฮโดรอิเล็คทริคที่มีประสิทธิภาพการทำงาน 700 MW ต่อยูนิตเอาไว้ด้วย ในขณะที่มีความสูงของเขื่อนอยู่ที่ 292 เมตร


ขื่อน Grande Dixence, ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ภาพจาก Grande Dixence

 3. เขื่อน Grande Dixence, ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

          ข้ามมาทางฝั่งยุโรปกันบ้าง โดยเขื่อน Grande Dixence นี้มีความสูงอยู่ที่ 285 เมตร ตั้งอยู่ในหุบเขา Val d'Hérens ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และแม้มันจะไม่ได้สูงที่สุดในโลก แต่หากนับเฉพาะเขื่อนคอนกรีตแบบถ่วงน้ำหนักด้วยกันแล้วล่ะก็ เขื่อนแห่งนี้จะเป็นเขื่อนคอนกรีตแบบถ่วงน้ำหนักที่สูงเป็นอันดับ 1 ของโลกเลยทีเดียว


เขื่อน Inguri, ประเทศจอร์เจีย

 4. เขื่อน Inguri, ประเทศจอร์เจีย

          เขื่อนบริเวณแม่น้ำ Inguri แห่งนี้เป็นเขื่อนสูงอันดับ 4 ของโลก รวมทั้งเป็นเขื่อนสร้างจากคอนกรีตที่สูงเป็นอันดับ 2 ในเวลาเดียวกัน ด้วยความสูง 272 เมตร ซึ่งนอกจากมันจะเป็นเขื่อนขนาดใหญ่ที่บรรจุน้ำเอาไว้แปรเป็นพลังงานได้มากมายมหาศาลแล้ว ทิวทัศน์ที่เขียวชอุ่มโอบล้อมด้วยภูเขารอบข้าง ยังทำให้มันเป็นหนึ่งในเขื่อนที่งดงามควรค่าแก่การเยี่ยมชมสักครั้งอีกด้วย


เขื่อน Vajont, ประเทศอิตาลี

 5. เขื่อน Vajont, ประเทศอิตาลี

          นับแต่ปี 1959 เขื่อนที่ตั้งอยู่บริเวณแม่น้ำ Vajont ทางตอนเหนือของกรุงเวนิส ในประเทศที่เต็มไปด้วยเสน่ห์ความโรแมนติกอย่างอิตาลี ก็กลายมาเป็นหนึ่งในภาพคุ้นตามาตลอด แม้ปัจจุบัน มันจะไม่ได้ถูกใช้งานแต่อย่างใดแล้วก็ตาม แถมเมื่อปี 1963 ยังเกิดเหตุน่าเศร้าเมื่อดินถล่มทำให้มีคนตาย ณ ที่นั่นกว่า 2 พันคนอีกด้วย แต่ถึงอย่างนั้น มันก็ยังคงเป็นเขื่อนที่สูงเป็นอันดับ 5 ของโลกด้วยความสูง 262 เมตร อยู่ดี



ขื่อน Manuel Moreno Torres, ประเทศเม็กซิโก
ภาพจาก Mexico

 6. เขื่อน Manuel Moreno Torres, ประเทศเม็กซิโก

          หรืออีกชื่อว่า Sumidero Canyon แห่งนี้ เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในประเทศเม็กซิโกเลยก็ว่าได้ เพราะมันไม่ได้เป็นเพียงแค่เขื่อนกักเก็บน้ำธรรมดาทั่วไปเท่านั้น แต่เขื่อนสูง 261 เมตรแห่งนี้ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าตามธรรมชาติมากมาย รวมไปถึงจระเข้ด้วย มันจึงเป็นตัวดึงดูดให้นักท่องเที่ยวรักธรรมชาติทั้งหลายแห่แหนกันมาเที่ยวในสถานที่แห่งนี้


เขื่อน Tehri, ประเทศอินเดีย
ภาพจาก Bazaar of dreams

 7. เขื่อน Tehri, ประเทศอินเดีย

          หากจะมองหาเขื่อนที่เกิดมาเพื่อถูกใช้งานจริงล่ะก็ เขื่อนหินบริเวณแม่น้ำ Bhagirathi แห่งนี้น่าจะใกล้เคียงกับคำนั้นมากที่สุด เพราะทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานน้ำให้ทั้ง Tehri Hydro Development Corporation Ltd. และ the Tehri hydroelectric complex จึงเรียกได้ว่ามันมีส่วนสำคัญสำหรับการเติบโตทางด้านธุรกิจของประเทศอินเดียอยู่ไม่น้อย โดยเขื่อนแห่งนี้มีความสูงใกล้เคียงกับเขื่อน Manuel Moreno Torres ที่ 261 เมตร และห่างกันเพียง 2 ฟุตเท่านั้น


เขื่อน Mauvoisin, ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

 8. เขื่อน Mauvoisin, ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

          มองเผิน ๆ เขื่อนสูง 250 เมตรนี้อาจจะดูเหมือนแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ที่ปราศจากสิ่งก่อสร้างด้วยฝีมือมนุษย์โดยสิ้นเชิง แต่ที่จริงแล้วมันเป็นเขื่อนประตูโค้งที่สูงเป็นอันดับ 3 ของโลกเลยทีเดียว แต่เมื่อมาถึงแล้ว คนอาจลืมมองที่กั้นเขื่อนไปเลยก็ได้ เพราะภาพน้ำสีฟ้าใสสะอาดที่ได้รับการดูแลเป็นอย่างดีตัดกับภูเขาที่โอบล้อม เกิดเป็นทัศนียภาพงดงามเหมือนภาพเขียนเลยทีเดียว



เขื่อน Laxiwa, ประเทศจีน

 9. เขื่อน Laxiwa, ประเทศจีน

          ใช่ว่าประเทศมหาอำนาจอย่างจีนจะมีเขื่อนสูงใหญ่เพียงแค่เขื่อน Xiaowan แห่งเดียวเท่านั้น เพราะเขื่อน Laxiwa ในแม่น้ำ Yellow ที่เซี่ยงไฮ้ ก็ยิ่งใหญ่ไม่แพ้กันเลย โดยมันมีความสูงอยู่ที่ 250 เมตร และติดตั้งเครื่องไฮโดรอิเล็คทริคที่มีประสิทธิภาพการทำงาน 700 MW ต่อยูนิตถึง 6 เครื่อง ทำให้มีกำลังการทำงานมากจนเป็นแหล่งพลังงานหลัก ๆ ของเซี่ยงไฮ้ไปโดยปริยาย


เขื่อน Deriner, ประเทศตุรกี
ภาพจาก Panoramio

 10. เขื่อน Deriner, ประเทศตุรกี

          ณ ตอนใต้ของเมือง Artvin บริเวณแม่น้ำ Çoruh ประเทศตุรกี คือที่ตั้งของเขื่อนทรงโค้งสูง 249 เมตร ที่สร้างจากคอนกรีต 2 ชั้น และมันก็เป็นเขื่อนอีกแห่งที่มีจุดประสงค์ในการสร้างเพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานเช่นกัน โดยตอนนี้มันยังอยู่ในระหว่างการสร้าง หลังจากเริ่มต้นลงมือเมื่อปี 1998 และได้เริ่มบรรจุน้ำเข้าไปในปี 2012 ที่ผ่านมานี้เอง และคาดว่าจะสำเร็จเรียบร้อยภายในปีนี้


เขื่อน Alberto Lleras, สาธารณรัฐโคลอมเบีย
ภาพจาก Elden Life

 11. เขื่อน Alberto Lleras, สาธารณรัฐโคลอมเบีย

          ท่ามกลางทิวทัศน์ธรรมชาติแสน สวยบนแม่น้ำ Guavio สาธารณรัฐโคลอมเบียแห่งนี้ คือเขื่อน Alberto Lleras สูง 243 เมตร ที่ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ปี 1989 และมีเครื่องไฮโดรอิเล็คทริคที่มีประสิทธิภาพการทำงาน 1,150 MW ต่อยูนิตติดตั้งเอาไว้ด้วย ดังนั้น ประสิทธิภาพเรื่องการหมุนเวียนสร้างพลังงานจากน้ำคงไม่ต้องสงสัยกันเลยล่ะ


เขื่อน Mica, ประเทศแคนาดา
ภาพจาก Status go kil

 12. เขื่อน Mica, ประเทศแคนาดา

          และแล้วก็มาถึงอันสุดท้าย ซึ่งก็คือเขื่อน Mica สูง 243 เมตร บนแม่น้ำโคลัมเบียอันงดงามของรัฐบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา โดยชื่อของมันมาจาก Mica Creek หมู่บ้านเล็ก ๆ ที่ตอนนี้จมลงไปใต้น้ำเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทำให้ชาวบ้านย้ายไปอยู่ในที่สูงกว่าเดิม ต่อมาเมื่อปี 2005 หมู่บ้านนี้ก็ไม่มีคนอาศัยอยู่อีก แม้จะยังคงมีตัวบ้านแบบเก่าหลงเหลือไว้ให้คนรุ่นหลังได้ดูเหลืออยู่บ้างก็ตาม และเมื่อเขื่อนประกอบกับภาพหมู่บ้านเก่ามาอยู่ด้วยกัน มันจึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ควรค่าแก่การไปเยี่ยมเยียนไม่น้อยเลยล่ะ


          ทั้งนี้ กว่าจะเกิดเป็นเขื่อนสูงตระการตาแบบนี้ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เลยทีเดียว เพราะต้องใช้เวลาสร้างอยู่นาน ต่อมาก็ต้องบำรุงรักษาอยู่ตลอด แล้วไหนจะต้องทุ่มงบเป็นเงินมหาศาลอีก มันจึงเป็นหน้าที่ของคนรุ่นหลังอย่างเรา ที่ต้องช่วยกันดูแลรักษาสถาปัตยกรรมที่มีค่าแบบนี้เอาไว้ให้ลูกหลานได้ชื่นชมต่อไปนะคะ



Mari Antoinette

มารี อ็องตัวแน็ต (ฝรั่งเศสMarie Antoinette; ประสูติ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2298 กรุงเวียนนา; สิ้นพระชนม์ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2336 กรุงปารีส) เป็นเจ้าหญิงแห่งฮังการีและโบฮีเมีย อาร์ชดัชเชสแห่งออสเตรีย อดีตพระราชินีแห่งฝรั่งเศส และนาวาร์ (แคว้นบาสก์ในปัจจุบัน) (พ.ศ. 2317 – พ.ศ. 2336) รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า มารี-อ็องตัวแน็ตแห่งออสเตรีย ถูกประหารด้วยกิโยตีนระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส
มารี อ็องตัวแน็ต
Vigée-Lebrun Marie Antoinette 1783.jpg

พระนามาภิไธยมาเรีย แอนโทเนีย โจเซปปา โจฮันนา
พระอิสริยยศพระราชินีแห่งฝรั่งเศสและนาวาร์
ราชวงศ์ฮับส์บูร์ก-ลอแรน
ข้อมูลส่วนพระองค์
พระราชสมภพ2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1755
สวรรคต16 ตุลาคม ค.ศ. 1793 (1755 พฤศจิกายน พ.ศ. 02 (-14 ชันษา))
พระราชบิดาจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
พระราชมารดาจักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา
พระราชสวามีพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส
มารี อ็องตัวแน็ต (ฝรั่งเศสMarie Antoinette; ประสูติ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2298 กรุงเวียนนา; สิ้นพระชนม์ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2336 กรุงปารีส) เป็นเจ้าหญิงแห่งฮังการีและโบฮีเมีย อาร์ชดัชเชสแห่งออสเตรีย อดีตพระราชินีแห่งฝรั่งเศส และนาวาร์ (แคว้นบาสก์ในปัจจุบัน) (พ.ศ. 2317 – พ.ศ. 2336) รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า มารี-อ็องตัวแน็ตแห่งออสเตรีย ถูกประหารด้วยกิโยตีนระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส

เมื่อทรงพระเยาว์[แก้]

ที่กรุงเวียนนา[แก้]

ธิดาของจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ แกรด์ดยุกแห่งทัสกานี (แห่งราชวงศ์ลอแรน) กับจักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา มารี อ็องตัวแน็ตดำรงพระยศเป็นพระราชินีแห่งฮังการีและโบฮีเมีย อาร์ชดัชเชสแห่งออสเตรีย (แห่งราชวงศ์ฮับส์บูร์ก) พระราชสมภพเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2298 (ค.ศ. 1755) เป็นพระธิดาองค์ที่ 14 ในจำนวน 16 พระองค์ของพระบิดาและพระมารดา พระนางถูกเลี้ยงดูโดยอายาส เหล่าข้าราชบริพารของราชสำนัก (มาดาม เดอ บร็องเดส และต่อมาโดยมาดาม เดอ เลอเชนเฟลด์ ผู้เข้มงวด) ภายใต้การสอดส่องดูแลอย่างเข้มงวดของจักรพรรดินี ผู้มีแนวความคิดล้าหลังเกี่ยวกับการเลี้ยงดูโอรสและธิดาด้วยการควบคุมสุขอนามัยและกระยาหารอย่างเข้มงวด และการทรมานร่างกายด้วยกิจกรรมหนักหน่วง มารี อ็องตัวแน็ตเติบโตขึ้นที่พระราชวังฮอฟบูร์กในกรุงเวียนนา และ ปราสาทชอนบรุนน์ การศึกษาของพระนางค่อนข้างถูกปล่อยประละเลย (หรือในอีกแง่หนึ่ง คือถูกเลี้ยงมาแบบง่าย ๆ กว่าการเลี้ยงดูราชนิกุลในราชสำนักฝรั่งเศสได้อยู่ใกล้ชิดธรรมชาติ ห่างไกลจากกฎเกณฑ์ทั้งปวงของราชสำนัก เกือบจะแบบชาวบ้านธรรมดา) สามารถอ่านออกเขียนได้เมื่ออายุเกือบสิบชันษา เขียนภาษาเยอรมันได้ไม่ดีนัก พูดภาษาฝรั่งเศสได้น้อยนิด และยิ่งถ้าเป็นภาษาอิตาเลียนแล้วพระนางพูดได้น้อยมาก แม้ว่าทั้งสามภาษานั้นจะเป็นภาษาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในบรรดาราชนิกูลของออสเตรียก็ตาม จักรพรรดินีได้บังคับให้พระนางอภิเษกสมรสกับหลานชายคนโตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ผู้มีชันษาใกล้เคียงกัน และในขณะเดียวกัน จักรพรรดินียังใฝ่ฝันจะจัดการอภิเษกอิซาเบล ธิดาอีกองค์ กับพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ผู้ทรงชราภาพ
เมื่อมารี อ็องตัวแน็ตทรงเจริญพระชนมายุได้ 13 ชันษา จักรพรรดินีที่ขณะนั้นทรงเป็นหม้าย ได้ทรงสนพระทัยเพิ่มขึ้นในด้านการศึกษาของพระโอรสธิดา เพื่อจะได้สามารถจัดการอภิเษกสมรสได้ อาร์ชดัชเชสมารี อ็องตัวแน็ต ได้หัดเล่นฮาร์ปซิคอร์ด กับ คริสตอฟ วิลบัลด์ กลุค (คีตกวีชื่อดัง) และเรียนนาฏศิลป์ฝรั่งเศสกับโนแวร์ เมื่อพระมารดาต้องเลือกระหว่างนักแสดงสองคนเพื่อให้มารี อ็องตัวแน็ตหัดการอ่านออกเสียง และร้องเพลง เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสได้ทัดทานอย่างเป็นทางการ เนื่องจากเห็นว่านักแสดงไม่มีคุณสมบัติพอ มาเรีย เทเรซาจึงได้ขอให้เขาจัดหาครูที่ราชสำนักฝรั่งเศสรับรองมาให้ ผู้ที่ถูกส่งมาคือ บิชอปแห่งแวร์มงด์ ผู้นิยมในยุคเรืองปัญญา และผู้นิยมศาสตร์แห่งการคัดตัวหนังสือ เขาจะเป็นผู้ที่แก้ไขข้อบกพร่องทางการศึกษาของมารี อ็องตัวแน็ต
เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2312 (ค.ศ. 1769) มาร์กีแห่งดูร์ฟอร์ต ได้มาสู่ขอมารี อองตัวแนตเพื่ออภิเษกกับมกุฎราชกุมารแห่งฝรั่งเศส จักรพรรดินีมาเรีย เทเรซารีบตกปากรับคำ ส่วนฝ่ายฝรั่งเศสที่เคร่งศาสนาได้คัดค้านการหมั้นหมายดังกล่าวที่ดำเนินการโดยดยุกแห่งชัวเซิล เอกอัครราชทูตฝรั่งเศส เนื่องจากจะเป็นการเอื้อประโยชน์กับออสเตรีย ศัตรูตลอดกาล พวกเขาได้เรียกพระชายาของมกุฎราชกุมารแล้วว่า ผู้หญิงออสเตรีย

มกุฎราชกุมารี[แก้]


มารี อ็องตัวแน็ต ระหว่างปี พ.ศ. 2312 - พ.ศ. 2313
เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2313 (ค.ศ. 1770) มารี อ็องตัวแน็ต ได้ประกาศสละสิทธิ์ในการเป็นอาร์ชดัชเชสของราชสำนักออสเตรียอย่างเป็นทางการ และเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พระนางได้เข้าพิธีอภิเษกสมรสกับมกุฎราชกุมารฝรั่งเศส ที่พระราชวังแวร์ซาย ในวันเดียวกันนี้เอง ได้มีเรื่องอื้อฉาวเกิดขึ้น เมื่อบรรดาเจ้าหญิงแห่งแคว้นลอแรนของฝรั่งเศส ได้อ้างสิทธิ์ในการเป็นพระญาติกับองค์มกุฎราชกุมาร เพื่อให้ได้เต้นรำกับพระองค์ก่อนบรรดาอาร์ชดัชเชสจากออสเตรียที่มาร่วมงาน ท่ามกลางความกังวลของเหล่าผู้ดีทั้งหลาย ที่ได้มีการซุบซิบนินทาต่อต้าน "ผู้หญิงออสเตรีย" กันแล้ว และในเย็นวันนั้นเอง มีประชาชน 132 คนขาดใจตายกลางท้องถนน ในระหว่างพิธีเฉลิมฉลองงานมงคลอภิเษกสมรส
มกุฎราชกุมารีผู้เยาว์ชันษาทรงมีปัญหาในการปรับตัวเข้ากับชีวิตใหม่ในรั้วในวังของฝรั่งเศส พระสวามีของพระนางตีตนออกห่าง โดยการหนีไปออกป่าล่าสัตว์แต่เช้าตรู่ (ทั้งคู่เริ่มมีสัมพันธ์ฉันสามีภรรยาอย่างแท้จริง ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2316) พระนางต้องทนทุกข์กับการปรับตัวเข้ากับพระราชพิธี และขนบประเพณีแบบฝรั่งเศส และทรงเกลียดการใช้ชีวิตกับผู้คนรอบข้าง นอกจากนั้นแล้ว พระนางยังได้รับคำปรึกษาทางไกลจากกรุงเวียนนา โดยการเขียนจดหมายโต้ตอบมากมายหลายฉบับกับพระมารดา และกับเคานต์แห่ง แมร์ซี-อาร์จองโต ผู้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตออสเตรียประจำกรุงปารีส ที่ประเทศฝรั่งเศส เคานต์แห่ง แมร์ซี-อาร์จองโตเป็นผู้เดียวที่พระนางสามารถวางพระทัยได้ เนื่องจากดยุกแห่งชัวเซิลได้ถูกปลดจากตำแหน่งภายในเวลาไม่ถึงปีหลังการอภิเษกสมรส จากแผนการอันซับซ้อนซ่อนเงื่อนของมาดาม ดู บาร์รี พระสนมผู้ทรงอิทธิพลของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 จดหมายโต้ตอบกับเคานต์แห่งแมร์ซี-อาร์จองโต ได้กลายเป็นแหล่งข้อมูลชิ้นเยี่ยม ที่จะอธิบายชีวิตโดยละเอียดของมารี อ็องตัวแน็ตภายหลังการอภิเษกสมรสในปี พ.ศ. 2313 (ค.ศ. 1770) จนกระทั่งถึงการสิ้นพระชนม์ของพระนางมาเรีย เทเรซาที่หนึ่ง พระมารดาในปี พ.ศ. 2323 (ค.ศ. 1780)

ขึ้นครองราชย์[แก้]

เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2317 (ค.ศ. 1774) พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศสเสด็จสวรรคต และพระนางมารี อ็องตัวแน็ต ได้ทรงขึ้นเป็นพระราชินีแห่งฝรั่งเศสและแห่งนาแวร์ แต่พฤติกรรมของพระนางไม่ได้เปลี่ยนไปเลย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2320 (ค.ศ. 1777) เป็นต้นมา กระแสต่อต้านพระนางเริ่มแพร่สะพัด พระนางถูกรายล้อมด้วยพระสหายสนิทจำนวนหนึ่ง (เจ้าหญิงแห่งลอมบาลล์ บารอนแห่งเบอซองวาล ดยุกแห่งควงยี รวมถึงโยลองด์ เดอ โปลาสตรง กับเคาน์เตสแห่งโปลินยัก) ซึ่งสร้างความอิจฉาริษยาให้แก่นางสนมคนอื่น ๆ ด้วยการจัดหาเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับจำนวนมาก จัดงานเลี้ยงหรูหราฟุ่มเฟือย และจัดเกมการละเล่นที่มีเงินเดิมพันจำนวนมหาศาล

ชีวิตในราชสำนัก[แก้]

มารี อ็องตัวแน็ตพยายามมีอิทธิพลทางการเมืองเหนือพระมหากษัตริย์ ด้วยการแต่งตั้งและถอดถอนรัฐมนตรีเป็นว่าเล่นตามพระทัย หรือไม่ก็ด้วยคำแนะนำของพระสหายผู้จะได้รับประโยชน์ พระนางต้องเดือดร้อนจากการเข้าไปพัวพันกับคดีกีเนส (เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำกรุงลอนดอน ผู้ถูกกล่าวหาว่าวางแผนผลักดันฝรั่งเศสเข้าร่วมสงคราม) เนื่องด้วยขาดความยั้งคิด ส่งผลให้พระนางสั่งปลดตูร์โกต์ในกาลต่อมา บารอนพิชเลอร์ ราชเลขาของพระนางมาเรีย เทเรซาที่หนึ่ง ได้ให้ความเห็นโดยรวมอย่างสุภาพด้วยการบันทึกไว้ว่า :
"พระนางไม่ต้องการจะปกครอง หรืออำนวยการ หรือแม้แต่ชี้นำเรื่องใดๆก็ตาม สิ่งนี้ดูเหมือนจะเป็นประเด็นที่พระนางคิดคำนึงมาตลอดเวลาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้แล้ว พระนางไม่ค่อยคิดเรื่องอื่นเท่าไรนัก และอุปนิสัยรักอิสระของพระนางเป็นข้อพิสูจน์ที่เพียงพอแล้ว เนื่องจากพระนางจะสนพระทัยเฉพาะสิ่งบันเทิงเริงรมย์ หรือไม่ก็เรื่องไร้สาระ"
กลุ่มคนที่ต่อต้านพระนางได้รวมตัวกันตั้งแต่เมื่อพระนางขึ้นสู่ราชบัลลังก์ มีการแจกใบปลิวกล่าวหาว่าพระนางมีชายชู้ (เคานต์แห่งอาร์ตัว พระเชษฐาเขย และเคานต์ฮาน แอกเซล เดอ เฟอเสน หรือแม้กระทั่งว่าพระนางมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับสตรี (โยลองด์ เดอ โปลาสตรง และเค้าท์เตส เดอ โปลินยัก) มีการใช้จ่ายเงินสาธารณะอย่างสุรุ่ยสุร่ายเพื่อการบันเทิงเริงรมย์ และเป็นฝ่ายหนุนหลังออสเตรียที่ตอนนั้นถูกปกครองโดยพระเจ้าโจเซฟที่ 2 แห่งออสเตรีย พระเชษฐาของพระนาง แต่ก็ต้องกล่าวว่า พระนางได้ทำทุกวิถีทางที่จะต่อสู้กับพวกต่อต้านออสเตรีย ด้วยการปลดดยุกแห่งเอกุยยง และแต่งตั้งดยุกแห่งชัวเซิลขึ้นแทน แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ พระราชวังแวร์ซายร้างจากผู้คน พวกนางสนมที่ราชินีหวาดระแวงได้หนีหน้าหายไปเนื่องด้วยไม่สามารถสนับสนุนรายจ่ายที่เกิดจากชีวิตอันหรูหราในราชสำนักได้
ในที่สุด เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2321 (ค.ศ. 1778) มารี อ็องตัวแน็ตได้มีประสูติกาลพระธิดาองค์แรก ที่มีพระนามว่า มารี-เตแรสแห่งฝรั่งเศส (ชาตะ พ.ศ. 2321 - มรณะ พ.ศ. 2394) หรือมีชื่อเล่นว่า "มาดามรัวยาล" และเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2324 (ค.ศ. 1781) ก็ถึงคราวให้กำเนิดเจ้าชายหลุยส์-โจเซฟ มกุฎราชกุมาร แต่ประสูติกาลเหล่านี้ไม่ได้ส่งผลดีแก่พระนางมารี อองตัวแนต เนื่องจากมีผู้กล่าวหาว่าโอรสธิดานั้นไม่ได้มีเชื้อสายของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 พระนางได้หันกลับมาใช้ชีวิตที่สนุกสนานเช่นเดิมอย่างรวดเร็ว และได้เฝ้าดูการก่อสร้างหมู่บ้านชนบทที่พระราชวังแวร์ซาย ให้เป็นฟาร์มขนาดเล็กที่พระนางเชื่อว่าทำให้ได้ค้นพบชีวิตชาวนาอันผาสุก ต่อมาเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2328 (ค.ศ. 1785) พระนางได้ให้กำเนิดพระโอรสองค์ที่สอง มีพระนามว่าเจ้าชายหลุยส์-ชาร์ล ดำรงตำแหน่งดยุกแห่งนอร์มงดี

คดีสร้อยพระศอ[แก้]


พระนางมารี อ็องตัวแน็ตในฉลองพระองค์ประจำราชสำนัก วาดโดยเอลีซาแบ็ต-หลุยส์ วีเฌ-เลอเบริง (พ.ศ. 2321)

พระฉายาลักษณ์ของพระนางมารี อ็องตัวแน็ต วาดราวปี พ.ศ. 2334 โดยอเล็กซ็องเดร กูชาร์สกี
ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2328 (ค.ศ. 1785) ได้เกิดเรื่องอื้อฉาวในคดีสร้อยพระศอของพระนางมารี อ็องตัวแน็ต เมื่อนายโบห์แมร์เรียกร้องเงินจำนวน หนึ่งล้านห้าแสนปอนด์จากองค์ราชินี เป็นค่าสร้อยคอเพชรที่พระคาร์ดินัล เดอ โรออง เป็นผู้ว่าจ้างให้ทำขึ้นในนามของราชินี มารี อองตัวแนตยืนยันที่จะให้จับกุมพระคาร์ดินัล แล้วเรื่องก็แดงขึ้นมา องค์กษัตริย์ได้มอบหมายให้รัฐสภาจัดการเรื่องนี้ ที่ในที่สุดก็ทราบตัวการ คือคู่รักที่อ้างว่าเป็นเค้าท์และเค้าท์เตสมอธ ที่ไปหลอกลวงพระคาร์ดินัลโรอองผู้บริสุทธิ์อีกต่อหนึ่ง แม้ว่าสมเด็จพระราชินีจะไม่มีความผิดเช่นกัน แต่ก็เสียพระเกียรติเป็นอันมาก เมื่อพระนางขอให้พระมหากษัตริย์เบิกตัวพระคาร์ดินัลเดอ โนไอญ์ และให้ส่งตัวพระนางไปลี้ภัยในที่มุขมณฑลแห่งหนึ่งของพระคาร์ดินัลนี้
มารี อ็องตัวแน็ตได้ทราบถึงชื่อเสียงที่เสื่อมเสียของพระนางในที่สุด และได้พยายามตัดลดค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าปรับปรุงพระตำหนักของพระนาง ซึ่งก่อให้เกิดเรื่องอื้อฉาวระลอกใหม่ขึ้นในพระราชวัง เมื่อพระสหายโปรดเห็นว่าพวกเขาไม่มีภาระหน้าที่อีกต่อไป พระนางทำอะไรไม่ได้มากไปกว่านี้ พระนางยังคงถูกวิพากษ์วิจารณ์ต่อไป และได้รับการขนานพระนามว่า "มาดามหนี้ท่วมหัว" และมีคนกล่าวหาพระนางว่าเป็นต้นเหตุของการต่อต้านรัฐสภาของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 รวมทั้งการแต่งตั้งและถอดถอนรัฐมนตรีหลายคนโดยไม่มีเหตุผลสมควร อันที่จริงแล้ว ในปี พ.ศ. 2331 (ค.ศ. 1788) พระนางเป็นผู้เรียกร้องให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ปลดนายโลเมนี เดอ เบรียนน์ผู้เสื่อมความนิยม และแต่งตั้งนายชัค เนคแกร์ขึ้นแทน แต่การกระทำดังกล่าวก็สายไปที่จะกอบกู้ชื่อเสียงคืนมา

การปฏิวัติฝรั่งเศส[แก้]

พ.ศ. 2332[แก้]

ในปี พ.ศ. 2332 (ค.ศ. 1789) สถานการณ์ขององค์ราชินีเลวร้ายลงมาก มีเสียงเล่าลือว่า คุณผู้ชาย (พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 แห่งฝรั่งเศส ในอนาคต) จะยื่นเรื่องต่อสภาบุคคลชั้นสูงในปี พ.ศ. 2330 (ค.ศ. 1787) เพื่อขอพิสูจน์สายเลือดของโอรสธิดาของกษัตริย์ ข่าวลือยังอ้างด้วยว่าองค์ราชินีได้ลี้ภัยไปอยู่ที่เมืองวัล-เดอ-กราซ ชานกรุงปารีส บาทหลวงซูลาวี ได้เล่าไว้ใน บันทึกประวัติศาสตร์และการเมืองในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ว่า "พระนางได้นำเอาความโชคร้ายของสาธารณชนไปกับพระนางด้วย และทางราชสำนักก็มีชีวิตชีวาขึ้น และได้รับการฟื้นฟูขึ้นโดยทันทีทันใด จากการที่พระนางเสด็จแปรพระราชฐานเพียงอย่างเดียว"
เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2332 (ค.ศ. 1789) ได้มีการจัดตั้งสภาที่ปรึกษาของกษัตริย์ขึ้น ระหว่างพิธีมิสซาเพื่อการเปิดสภาอย่างเป็นทางการ สาธุคุณเดอ ลา ฟาร์ ผู้อยู่บนบัลลังก์ ได้กล่าวประณามมารี อ็องตัวแน็ตอย่างเปิดเผย ด้วยการตีแผ่การใช้ชีวิตในราชสำนักอย่างหรูหราฟุ่มเฟือย และยังกล่าวว่าผู้ที่รู้สึกเบื่อหน่ายกับชีวิตหรูหราดังกล่าวได้หลบไปหาความสำราญด้วยการ ใช้ชีวิตเลียนแบบธรรมชาติอย่างไร้เดียงสา อันเป็นคำประชดประชันแดกดันด้วยการเปรียบเปรยถึงชีวิตใน พระตำหนักเปอติ ทรีอานง บ้านไร่ในพระราชวังแวร์ซายที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 สร้างขึ้นเพื่อมอบให้กับพระนางมารี อ็องตัวแน็ต (ตามที่เขียนไว้ใน บันทึกเกี่ยวกับคณะสมาชิกสภา ของ อาเดรียง ดูเกสนัว)
เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน มกุฎราชกุมารพระองค์น้อยได้สิ้นพระชนม์ลง ได้มีการจัดพิธีพระศพขึ้นที[ชาเปลแซ็ง-เดอนีเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือย กิจกรรมทางการเมืองไม่อนุญาตให้เชื้อพระวงศ์ไว้ทุกข์ได้อย่างสะดวกนัก มารี อองตัวแนต ผู้ซึ่งปั่นป่วนพระทัยจากเหตุการณ์นี้ และเสียความเชื่อมั่นจากเหตุการณ์ในที่ประชุมสภาที่ปรึกษากษัตริย์ จึงปักใจเชื่อในแนวคิดต่อต้านการปฏิวัติ ในเดือนกรกฎาคม พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ได้สั่งปลดนายชาก เนกแกร์ องค์ราชินีได้เผาเอกสารต่างๆ และรวบรวมเพชรนิลจินดาของพระนาง และกราบทูลโน้มน้าวให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 เสด็จออกจากพระราชวังแวร์ซายไปหลบในปราสาทที่เป็นป้อมปราการแข็งแกร่งกว่านี้ ห่างไกลจากกรุงปารีส หลังจากนั้นไม่นาน เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2332 (ค.ศ. 1789) หน้งสือต่อต่านระบอบกษัตริย์ถูกแจกจ่ายไปทั่วกรุงปารีส ผู้ใกล้ชิดพระนางถูกหมายหัว และพระเศียรของมารี อ็องตัวแน็ตถูกตั้งราคาไว้ มีคนกล่าวหาพระนางว่าต้องการลอบวางระเบิดรัฐสภาและต้องการส่งทหารเข้ามาในกรุงปารีส
เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ได้เกิดเรื่องอื้อฉาวครั้งใหม่ขึ้น ขณะที่มีงานเลี้ยงพระกระยาหารโต๊ะยาวโดยเหล่าราชองครักษ์จากพระตำหนักทหารขององค์กษัตริย์ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองให้แก่กองทหารเรือจากฟลองเดรอที่เพิ่งกลับมาถึงกรุงปารีส ได้มีการโห่ร้องถวายพระพรแก่องค์ราชินี อีกทั้งประดับประดาสถานที่ด้วยธงชัยสีขาว และธงไตรรงค์ ประชาชนในกรุงปารีสได้มีการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับงานพระราชพิธีนี้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการถวายช่อดอกไม้ ในขณะที่ประชาชนขาดแคลนขนมปัง เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ขบวนประท้วงของเหล่าสตรีได้เดินทางมาถึงพระราชวังแวร์ซาย เพื่อเรียกร้องขอขนมปัง โดยกล่าวว่าพวกเขากำลังเดินทางไปหา คนทำขนมปังชาย (พระมหากษัตริย์) และคนทำขนมปังหญิง (องค์ราชินี) รวมทั้ง บุตรชายของคนทำขนมปัง (มกุฎราชกุมาร) ในเช้าวันรุ่งขึ้น ประชาชนผู้ลุกฮือติดอาวุธด้วยหอกและมีด ได้บุกเข้าไปในพระราชวัง สังหารองครักษ์เพื่อเป็นการข่มขวัญเชื้อพระวงศ์ ทำให้บรรดาเชื้อพระวงศ์จำต้องเดินทางกลับกรุงปารีสโดยมีกองทหารของมาร์กี เดอ ลา ฟาแยต และเหล่าผู้ลุกฮือตามประกบ ระหว่างทางได้มีผู้ข่มขู่องค์ราชินีโดยการให้ทอดพระเนตรเชือกเส้นหนึ่ง พร้อมกับกราบทูลว่าจะใช้เสาโคมในกรุงปารีสแขวนคอพระนางด้วยเชือกเส้นนี้
เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม รัฐสภาแห่งชาติได้ประกาศให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งฝรั่งเศสที่ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย พระองค์ได้ร่วมกับพระนางมารี อองตัวแนตขอความช่วยเหลือจากราชวงศ์ต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจาก กษัตริย์แห่งปรัสเซีย พระเจ้าชาร์ลที่ 4 แห่งสเปน และจักรพรรดิโจเซฟที่ 2 แห่งออสเตรีย พระเชษฐาของพระนางมารี อองตัวแนต แต่กษัตริย์แห่งสเปนได้ตอบกลับอย่างคลุมเครือ และเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2333 (ค.ศ. 1790) จักรพรรดิโจเซฟที่ 2 แห่งออสเตรียเสด็จสวรรคต ลา ฟาแยตได้แนะนำอย่างเย็นชาให้มารี อ็องตัวแน็ตหย่ากับกษัตริย์ ยังมีบางกระแสได้กล่าวอย่างเปิดเผยว่าจะดำเนินคดีกับพระนางเรื่องมีชายชู้ และจับได้ว่าพระนางลอบเป็นชู้กับเคาท์อักเซลฟอนแฟร์เซิน
ราวปลายปี พ.ศ. 2333 บารงเดอเบรอเตย ได้เสนอแผนการหลบหนี ด้วยการหนีออกจาพระราชวังตุยเลอรีส์ และเข้ายึดป้อมปราการที่เมืองมงต์เมดี ให้กับชายแดน องค์ราชินีต้องอยู่ตามลำพังพระองค์เองมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังเดือนตุลาคม ปีพ.ศ. 2333 แมร์ซี-อาร์จองโต ได้ออกจากฝรั่งเศส เพื่อไปรับตำแหน่งในสถานเอกอัครราชทูตแห่งประเทศเนเธอร์แลนด์ในขณะที่พระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 2 กษัตริย์องค์ใหม่แห่งออสเตรีย พระเชษฐาอีกพระองค์ของมารี อองตัวแนต ปฏิเสธที่จะช่วยพระนาง ในวันที่ 7 มีนาคม ได้มีผู้จับได้ว่าแมร์ซี-อาร์จองโต ส่งจดหมายถึงพระนาง และได้นำเรื่องให้คณะปฏิวัติดำเนินการ จึงเกิดเป็นเรื่องอื้อฉาวขึ้นว่า นั่นเป็นหลักฐานว่าพระนางได้มีส่วนพัวพันกับ "คณะกรรมาธิการออสเตรีย" และได้เจรจาจะขายชาติให้กับประเทศออสเตรีย
เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน กลุ่มก่อการปฏิวัติได้บุกกรุงปารีส ทันใดนั้นเอง ชาวกรุงปารีสก็พบว่ากษัตริย์กับราชินีได้หลบหนีไปแล้ว แต่มาร์ควิส เดอ ลา ฟาแยตต์ได้โน้มน้าวให้กลุ่มก่อการปฏิวัติเชื่อว่ากษัตริย์ถูกกลุ่มต่อต้านการปฏิวัติลักพาตัวไป พระราชวงศ์ที่หลบไปนอกกรุงปารีสไม่จำเป็นต้องซ่อนตัวอีกต่อไป แต่โชคร้ายที่ราชรถของพวกพระเจ้าหลุยส์และพระนางมารี อองตัวแนตมาถึงช้าไปกว่าสามชั่วโมง และเมื่อพวกเขามาถึงจุดนัดพบจุดแรก ที่จุดแวะพักปงต์-เดอ-ซอม-เวสเลอ กองทหารที่จะมาช่วยได้จากไปเสียแล้ว โดยคิดว่าพระมหากษัตริย์เปลี่ยนพระทัย ก่อนจะถึงเที่ยงวันเล็กน้อย ราชรถถูกจับได้ที่เมืองวาเรนน์-ออง-อาร์กอนน์ เนื่องจากเจ้าของจุดแวะพักจุดก่อนจำพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ได้ เขาลังเลอยู่ครู่หนึ่ง ไม่มีใครทราบว่าจะทำอย่างไรดี และในขณะนั้นเอง ได้มีฝูงชนหลั่งไหลมาที่เมืองวาเรนน์ ท้ายที่สุด ราชวงศ์ที่กำลังถูกคุกคาม ได้ถูกนำตัวกลับไปยังกรุงปารีส ภายใต้บรรยากาศโหดร้ายอันเรียบเชียบเงียบงัน

ภายหลังเหตุการณ์ที่เมืองวาเรนน์[แก้]

ดูเพิ่มเติมที่: การเสด็จสู่วาเรนน์
เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ถูกไต่สวนโดยคณะผู้แทนของสภาแห่งชาติ พระองค์ได้ตอบคำถามอย่างคลุมเครือ คำตอบที่ถูกตีพิมพ์เผยแพร่ต่อสาธารณชนได้ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมาก จนมีกระแสเรียกร้องให้ถอดถอนพระองค์จากตำแหน่งกษัตริย์ ทางด้านพระนางมารี อองตัวแนตได้พบกับอองตวน บาร์นาฟ อย่างลับๆ โดยต้องการโน้มน้าวให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ยอมรับตำแหน่งกษัตริย์ภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตย ในที่สุด เมื่อวันที่ 13 กันยายน พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ก็ยอมรับระบอบประชาธิปไตย และในวันที่ 30 กันยายน ได้มีการยุบสภาที่ปรึกษากษัตริย์ และตั้งสภานิติบัญญัติขึ้นมาแทนที่ แต่อย่างไรก็ดี ข่าวการทำสงครามกับราชวงศ์ของประเทศเพื่อนบ้านได้แพร่สะพัดไปทั่ว ในบรรดาเชื้อพระวงศ์ของยุโรปทั้งหมด ออสเตรียทำให้ชาวฝรั่งเศสรู้สึกกดดันที่สุด ประชาชนจึงได้ลุกฮือขึ้นต่อต้านมารี อองตัวแนตและเรียกพระนางว่าเป็น "นางปิศาจ" หรือไม่ก็ "มาดามผู้เป็นปฏิปักษ์ต่อกฎหมาย" และยังกล่าวโทษว่าพระนางเป็นผู้ทำให้เมืองหลวงนองไปด้วยเลือด เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2335 (ค.ศ. 1792) คำแถลงการณ์แห่งบรุนส์วิก ที่ได้รับแรงบันดาลใจส่วนใหญ่มาจากท่านเคานท์ ฮาน แอกเซล เดอ แฟร์ซอง ได้จุดเพลิงแค้นของประชาชนชาวฝรั่งเศสได้สำเร็จในที่สุด
ประชาชนได้ลุกฮือขึ้นต่อต้านอำนาจรัฐเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม ด้วยการบุกพระราชวังตุยเลอรีส์ พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 จำต้องลี้ภัยในสภาคณะปฏิวัติแห่งชาติ ที่ต่อมาได้ลงคะแนนให้ถอดถอนพระองค์ชั่วคราว และให้พระองค์เสด็จไปประทับที่คอนแวนต์ของนิกายเฟยยองต์ วันรุ่งขึ้น เชื้อพระวงศ์ก็ถูกนำตัวมาไว้ที่ห้องขังของโบสถ์ ระหว่างการสังหารหมู่เชื้อพระวงศ์ในเดือนกันยายน เจ้าหญิงแห่งลอมบาลล์ถูกสังหารอย่างเหี้ยมโหดเพื่อเป็นการเชือดไก่ให้ลิงดู และพระเศียรของเจ้าหญิงถูกเสียบไว้ที่ปลายหอกและตั้งไว้นอกหน้าต่างห้องที่ประทับของพระนางมารี อองตัวแนต ไม่นานต่อมา หลังจากที่สงครามได้เริ่มขึ้น สภาคณะปฏิวัติได้ประกาศให้เชื้อพระวงศ์ตกอยู่ในฐานะตัวประกัน ราวต้นเดือนธันวาคม ได้มีการค้นพบ"เสื้อเกราะเหล็ก"ที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ใช้ซ่อนเอกสารลับของพระองค์ จึงจำเป็นต้องจัดการไต่สวนคดีขึ้นโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้
เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม สภาคณะปฏิวัติแห่งชาติฝรั่งเศสได้ลงมติให้ประหารกษัตริย์ ส่งผลให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ถูกประหารเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2336 (ค.ศ. 1793) ต่อมาในวันที่27 มีนาคม มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์ได้เรียกร้องกับสภาคณะปฏิวัติแห่งชาติฝรั่งเศสเป็นครั้งแรก ให้จัดการกับราชินีอีกองค์ วันที่ 13 กรกฎาคม องค์มกุฎราชกุมารก็ถูกลักพาตัวไปจากพระมารดาและถูกมอบให้อยู่ในความดูแลของอองตวน ซิมง ช่างทำรองเท้า และในวันที่ 2 สิงหาคม ก็ถึงคราวที่พระนางมารี อ็องตัวแน็ตถูกพรากจากเหล่าเจ้าหญิงและนำตัวไปยังทัณฑสถานกรุงปารีส การไต่สวนพระนางจะเริ่มต้นในวันรุ่งขึ้น

การพิจารณาคดี[แก้]


พระนางมารี อ็องตัวแน็ต, พระโอรส-ธิดา และมาดามเอลิซาเบท ณ เหตุการณ์ที่ฝูงชนบุกพระราชวังตุยเลอรีส์ในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2335

การสำเร็จโทษพระนางมารี อ็องตัวแน็ต วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2336
วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2336 มารี อ็องตัวแน็ตถูกตั้งข้อหาโดยศาลปฏิวัติ โดยฟูกิเยร์-ทังวิลล์ ผู้ฟ้องร้องแทนประชาชน หากแม้นว่าการพิจารณาคดีของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ยังคงไว้ซึ่งกระบวนการยุติธรรม การพิจารณาคดีของราชินีมิได้เป็นเช่นนั้นเลย ได้มีการทำสำนวนฟ้องขึ้นอย่างรวดเร็ว และเป็นเอกสารที่ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากนายฟูกิเยร์ เดอ ทังวิลล์ไม่สามารถหาเอกสารของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 พบทุกชิ้น และเพื่อให้สามารถตั้งข้อกล่าวหาแก่พระนางมารี อองตัวแนตได้ เขามีแผนที่จะให้มกุฎราชกุมารขึ้นให้การต่อศาลในทางเป็นปฏิปักษ์ต่อพระมารดา ซึ่งต่อหน้าศาล มกุฎราชกุมารพระองค์น้อยได้กล่าวหาพระมารดา และพระมาตุจฉาว่าเป็นผู้สอนให้พระองค์สำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง และบังคับให้เล่นเกมสวาท พระนางมารี อ็องตัวแน็ตผู้เสื่อมเสียพระเกียรติได้เรียกราชเลขามาขึ้นให้การ พระนางพ้นจากการถูกรุมประชาทัณฑ์ได้อย่างเส้นยาแดงผ่าแปด แต่พระนางยังถูกตั้งข้อกล่าวหาอีกว่าสมรู้ร่วมคิดกับประเทศมหาอำนาจต่างชาติ และเมื่อพระนางยังคงยืนกรานความบริสุทธิ์ นายแอร์มานน์ ประธานศาลปฏิวัติ ได้กล่าวว่าพระนางเป็น "ตัวการสำคัญที่ผลักดันให้เกิดการทรยศต่อหลุยส์ โอกุสต์" คดีนี้จึงกลายเป็นการพิจารณาคดีของทรราชไป บทนำของสำนวนฟ้องยังกล่าวอีกด้วยว่า:
"จากการพิจารณาเอกสารทั้งหมดที่ยื่นโดยผู้ฟ้องร้องแทนประชาชน ผลปรากฏว่า ในบรรดาราชินีทั้งหลาย เป็นต้นว่า เมสซาลีน บรูเนอโอ เฟรเดกองด์ และมารี เดอ เมดิซี ที่เมื่อก่อนเรายอมรับว่าเป็นราชินีของฝรั่งเศส ผู้ซึ่งมีชื่อเสื่อมเสียไม่อาจลบล้างได้จากประวัติศาสตร์ นับได้ว่ามารี อองตัวแนต หญิงหม้ายของหลุยส์ คาเปต์ เป็นผู้มีความละโมบเป็นที่สุด และเป็นหายนะอันใหญ่หลวงของชาวฝรั่งเศส"
พวกพยานที่จัดหามาดูไม่ค่อยน่าเชื่อถือเท่าที่ควร พระนางมารี อองตัวแนตให้การตอบว่า พระนาง "เป็นเพียงแค่ภรรยาของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 เท่านั้น และพระนางก็ทำอะไรตามพระทัยของพระนางเอง" นายฟูกิเยร์-ทังวิลล์ ได้เรียกร้องให้ประหารพระนางและกล่าวหาว่าพระนางเป็น"ศัตรูอย่างเปิดเผยของชาติฝรั่งเศส" ทางด้านนายทรองซง-ดือคูเดรย์ และนายโชโว-ลาการ์ด ทนายความสองคนของพระนางมารี อองตัวแนต ยังหนุ่มและขาดประสบการณ์ อีกทั้งยังไม่ได้เห็นเอกสารฟ้องก่อนขึ้นว่าความ ทำได้แค่เพียงอ่านออกเสียงบันทึกไม่กี่หน้าที่ตนได้จดเอาไว้
คณะลูกขุนต้องตอบถามคำถามสี่ข้อด้วยกัน:
  1. จริงหรือไม่ที่ได้มีการคบคิดและมีการแลกเปลี่ยนข่าวกรองกับประเทศมหาอำนาจต่างชาติ และศัตรูอื่นๆ นอกสาธารณรัฐฝรั่งเศส โดยที่การคบคิดและข่าวกรองดังกล่าวนั้นมีจุดมุ่งหมายให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ให้พวกนั้นเข้ามาในดินแดนฝรั่งเศส และให้พวกนั้นพัฒนาอาวุธได้?
  2. มารี อ็องตัวแน็ตแห่งออสเตรีย (...) เราเชื่อว่านางได้มีส่วนร่วมมือกับการคบคิดและสนับสนุนการข่าวกรองดังกล่าวหรือไม่?
  3. จริงหรือที่มีแผนการสมรู้ร่วมคิดและแผนข่าวโคมลอยที่พยายามจุดชนวนให้เกิดสงครามกลางเมืองภายในสาธารณรัฐฝรั่งเศส?
  4. เราเชื่อว่ามารี อ็องตัวแน็ตได้มีส่วนร่วมในแผนสมรู้ร่วมคิดและข่าวโคมลอยนี้หรือไม่?
คณะลูกขุนได้ตอบว่าคำถามดังกล่าวว่าจริงและใช่ทุกข้อ มารี อ็องตัวแน็ตจึงถูกตัดสินประหารชีวิตในข้อเป็นทรราชย์ขั้นร้ายแรงเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ประมาณเวลาสี่นาฬิกาของรุ่งเช้า ในวันเดียวกันนั้นเอง เมื่อเวลาสิบสองนาฬิกาสิบห้านาที พระนางถูกประหารด้วยกิโยติน หลังจากที่ได้ปฏิเสธจะสารภาพบาปกับบาทหลวงที่คณะปฏิวัติจัดหาให้ พระศพของพระนางถูกฝังในหลุมฝังศพลา มาเดอเลน บนถนนอองจู-ซังต์-ตอนอเร ต่อมาเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2358 (ค.ศ. 1815) พระศพของพระนางถูกขุดขึ้นมา และถูกย้ายไปฝังไว้ที่มหาวิหารแซ็ง-เดอนี เมื่อวันที่ 21 มกราคม

ลำดับพระอิสริยยศ[แก้]

  • 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1755 – 19 เมษายน ค.ศ. 1770: อาร์ชดัชเชสมาเรีย อันโทเนีย แห่งออสเตรีย
  • 19 เมษายน ค.ศ. 1770 – 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1774โดฟีนแห่งฝรั่งเศส
  • 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1774 – 1 ตุลาคม ค.ศ. 1791สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศสและนาวาร์
  • 1 ตุลาคม ค.ศ. 1791 – 21 กันยายน ค.ศ. 1792: สมเด็จพระราชินีแห่งชาวฝรั่งเศส
  • 21 กันยายน ค.ศ. 1792 – 21 มกราคม ค.ศ. 1793: นางกาเป
  • 21 มกราคม ค.ศ. 1793 – 16 ตุลาคม ค.ศ. 1793: นางกาเป หญิงม่าย