วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วิหารพาร์เธนอน PARTHENON


วิหารพาร์เธนอน PARTHENON

the-parthenon-emmanuel-panagiotakis

คือวิหารโบราณบนเนินอะโครโพลิสในกรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ สร้างเพื่อเป็นศาสนสถานบูชาเทพีเอเธนา หรือเทพีแห่งปัญญา ความรอบรู้ ในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราช เป็นสิ่งก่อสร้างสถาปัตยกรรมกรีกโบราณที่มีชื่อเสียงที่สุด แสดงให้เห็นถึงความเฉลียวฉลาดของสถาปนิกในสมัยนั้นและถือได้ว่าเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก มีขนาดกว้าง 101.4 ฟุต หรือ 30.9 เมตร และ ยาว 228.0 ฟุต หรือ 69.5 เมตร

    คำว่า พาร์เธนอน นั้นน่าจะมาจากประติมากรรมที่เคยตั้งอยู่ภายในวิหาร คือ Athena Parthenos ซึ่งมีความหมายว่า เทพีอันบริสุทธิ์

49-parthenon-and-acropolis



ตามตำนานกรีกเล่าว่า ที่มาของชื่อเมืองเอเธนส์ (Athens) นั้น มาจากการที่ชาวกรีกจะตั้งชื่อเมืองแต่ไม่รู้จะใช้ชื่ออะไร โพไซดอน เทพแห่งมหาสมุทร ผู้มีศักดิ์เป็นลุงของอธีนา ใช้ตรีศูลอาวุธของตนสร้างม้าขึ้นมา(บ้างก็ว่าสร้างน้ำพุขึ้น) ชาวเมืองต่างพากันชื่นชมม้าเป็นอันมาก แต่เทพีอธีนาได้เนรมิตต้นมะกอกขึ้นมา ซึ่งสามารถใช้ผลเป็นประโยชน์ได้ นอกจากนี้ มะกอก ยังเป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพ ในขณะที่ม้าเป็นสัญลักษณ์ของสงคราม ชาวเมืองจึงตกลงใช้ชื่อเมืองว่า เอเธนส์ ตามชื่อของพระนาง และมะกอกก็กลายเป็นผลไม้เศรษฐกิจสำคัญอันดับหนึ่งของกรีซมาจนปัจจุบัน   อาจกล่าวได้ว่า อธีนา เป็นเทพที่ชาวกรีกให้ความนับถือมากที่สุดก็ว่าได้ ในสมัยโบราณมีการสร้างมหาวิหารเพื่อถวายแด่พระนาง คือ วิหารพาเธนอน ซึ่งตั้งอยู่ที่เนินอะโครโปลิส ที่กรุงเอเธนส์ในปัจจุบัน ในการท่องเที่ยวของกรีซ จะพบรูปปั้นขนาดเล็กของอธีนาขายเป็นที่ระลึกอยู่ทั่วไป ในวัฒนธรรมสมัยนิยมก็ถูกอ้างถึงในการ์ตูนญี่ปุ่นเป็นต้น เช่น เรื่อง เซนต์เซย่า เมื่ออธีนาได้จุติลงมาเป็นเด็กผู้หญิงที่ชื่อ คิโด ซาโอริ ทำหน้าปกป้องโลกจากเทพองค์อื่น ๆ ที่มีความปรารถนาจะครองโลก ซึ่งเป็นตัวเอกฝ่ายหญิงของการ์ตูนเรื่องนี้ทีเดียว
วิหารพาร์เธนอนเป็นวิหารที่ถูกสร้างขึ้นโดยสร้างตามการริเริ่มของเพริเคิล ผู้นำกรุงเอเธนส์ในสมัยนั้น และสร้างโดยมีประติมากรฟีเดียสเป็นผู้ควบคุมงาน การก่อสร้างเริ่มขึ้นเมื่อ 447 ปีก่อนคริสต์ศักราช ถึงแม้ว่าการก่อสร้างจะเสร็จสมบูรณ์เมื่อ 438 ปีก่อนคริสต์ศักราชแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีการตกแต่งเพิ่มเติมอีก 5 ปี เพื่ออุทิศแด่เทพีอาธีนาซึ่ง ซึ่งเป็น เทพีประจำเมืองเอเธนส์แต่ไหนแต่ไรมา คำว่า “พาร์เธนอน” แปลว่าห้องแห่งเทพีพหรมจารี (Hall of the virgin goddess) วิหารโบราณแห่งนี้มีความเก่าแก่มากกว่า 2,600 ปี ตั้งอยู่อะโครโปลิส (แปลว่าจุดสูงสุดของเมือง) ใจกลางกรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ ซึ่งแม้ว่าวิหารพาร์เธอนอนจะเหลือเพียงแต่ซากปรักหักพัง แต่เราก็ยังสามารถที่จะจินตนาการถึงความยิ่งใหญ่ในอดีตได้เป็นอย่างดี
เนินอะโครโปลิสที่เป็นที่ตั้งของวิหารพาร์เธนอนนี้อยู่บนเนินเขาพัลลาส(Pallas) ซึ่งสูงจากพื้นราบ 60-70 เมตร พื้นที่บนยอดเขาประมาณ 45,000 ตารางเมตร ตั้งแต่ประมาณศตวรรษที่ 14 ก่อน คริสตกาล (1,400 ปี ก่อน คริสตกาล) ก็มีการสร้างพระราชวังบนเนินแห่งนี้แล้ว โดยที่วิหารพาร์เธนอนที่เห็นเป็นซากอยู่ในปัจจุบันเป็นวิหารรุ่นที่ 3 ที่สร้างทับซ้อนบนรากฐานเดิมของวิหารรุ่นที่ 2 ก่อนหน้า วิหารรุ่นแรกนั้นสร้างเมื่อประมาณ 500 กว่าปี ก่อนคริสตกาล และได้พังทลายลงไป จึงได้มีการเริ่มสร้างรุ่นที่ 2 ขึ้นในปี 490 ก่อนคริสตกาล แต่เหมือนเคราะห์ซ้ำกรรมซัดเพราะได้ถูกกองทัพของพวกเปอร์เซียเผาทำลายไปอีกครั้งหนึ่ง ตั้งแต่ยังก่อสร้างไม่เสร็จดี   แต่ว่าชาวเอเธอส์ก็ยังไม่ละความพยายามในการสร้าง วิหารพาร์เธนอนจึงเริ่มก่อสร้างอีกครั้งเป็นรุ่นที่ 3  ประมาณช่วงปี 447 ก่อน ค.ศ. ซึ่งนับเวลาจนกระทั่งถึงตอนนี้ก็ ประมาณ 2,500 ปี เห็นจะได้ วิหารพาร์เธนอนถูกสร้างขึ้นด้วยหินอ่อน ขนาดยาวประมาณ 70 เมตร กว้าง 30 เมตร ด้านกว้างประกอบด้วยด้วยเสา 8 ต้น ด้านยาว 17 ต้น เสาแต่ละต้นสูง 10.5 เมตร ลักษณะของเสาเป็นลักษณะเฉพาะคือจะปล่องออกตรงกลางซึ่งเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับ 2 เมตร และ ตรงปลายทั้งสองด้านเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับ 1.5 เมตร โดยในการก่อสร้างเสาแต่ต้น ชาวเอเธนส์จะแบ่งเสาเป็นข้อๆ เหมือนเค๊ก แล้วมาวางซ้อนกัน 10 -12 ชั้น
อย่างที่ได้บอกไปแล้วว่าวิหารพาร์เธนอนที่เห็นอยู่ในปัจจุบันถูกสร้างขึ้นเป็นรุ่นที่ 3 โดยมันถูกสร้างเมื่อปี 447 ก่อน ค.ศ. และไปแล้วเสร็จในปี 438 ก่อน ค.ศ. แต่ก็ยังไม่เสร็จสมบูรณ์เหมือนตามที่ผู้สร้างตั้งใจไว้ จึงใช้เวลาอีก 5 ปีในการแกะสลักรูปปั้นเพื่อไปประดับ วิหารพาร์เธนอนอีก รวมระยะเวลาที่ใช้ทั้งหมด ก็ 14 ปี

              

การก่อสร้าง

วิหารพาร์เธนอนสร้างตามการริเริ่มของเพริเคิล ผู้นำกรุงเอเธนส์ในสมัยนั้น และสร้างโดยมีประติมากรฟีเดียสเป็นผู้ควบคุมงาน การก่อสร้างเริ่มขึ้นเมื่อ 447 ปีก่อนคริสต์ศักราช ถึงแม้ว่าการก่อสร้างจะเสร็จสมบูรณ์เมื่อ 438 ปีก่อนคริสต์ศักราชแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีการตกแต่งเพิ่มเติมอีก 5 ปี บัญชีส่วนหนึ่งของการก่อสร้างครั้งนี้หลงเหลืออยู่ และแสดงให้เห็นว่างานที่มีค่าใช้จ่ายสูงสุด คือ การขนย้ายหินจากเขาเพนเทลิกัส ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงเอเธนส์ไปกว่า 16 กิโลเมตร

วิหารพาร์เธนอนมีขนาดกว้าง 30.9 เมตร ยาว 69.5 เมตร (101.4 × 228.0 ฟุต) เสาภายนอกแต่ละต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.9 เมตร (6.2 ฟุต) และสูง 10.4 เมตร (34.1 ฟุต) เสาที่หัวมุมของวิหารจะมีขนาดใหญ่กว่าเสาอื่นๆ เล็กน้อย หลังคาปูด้วยหินอ่อนซ้อนกัน

เมื่อนำขนาดของวิหารนี้มาคำนวณเป็นอัตราส่วน จะพบว่าหลายๆ แห่งเป็นอัตราส่วนทองคำ เสาด้านหน้าจะมี 8 ต้น และด้านข้างจะมี 17 ต้น

การเปลี่ยนแปลง

พาร์เธนอนยังคงเป็นวิหารมากว่าพันปีนับจากเสร็จสิ้นการก่อสร้าง ซึ่งถือว่ามีอายุเก่าแก่มาก หลังจากนั้นพาร์เธนอนจึงกลายเป็นโบสถ์คริสเตียน ในปี ค.ศ. 1456 เอเธนส์ตกเป็นของจักรวรรดิออตโตมัน พาร์เธนอนจึงถูกเปลี่ยนเป็นสุเหร่า ในระหว่างนี้ มีการครอบครองอาณาจักรกันมากมาย วิหารพาร์เธนอนแห่งนี้จึงเปลี่ยนเป็นสถานที่ทางศาสนาและวัฒนธรรมต่างๆ ของอาณาจักรที่เป็นใหญ่ในขณะนั้น และมีการบูรณะรักษาสถานที่แห่งนี้อยู่หลายครั้ง ภายหลังจากนั้นในปี ค.ศ. 2004 มีการบูรณะวิหารพาร์เธนอนครั้งใหญ่เนื่องจากประเทศกรีซได้รับเลือกให้จัดการแข่งขันโอลิมปิกซึ่งแน่นอนว่าจะมีพิธีเปิดที่วิหารพาร์เธนอน
เหตุผลที่ได้รับคัดเลือกเป็นมรดกโลก

แหล่งมรดกโลกอาโครโปลิสแห่งเอเธนส์ได้ลงทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยมีเหตุผลตามเกณฑ์การพิจารณาคือ

- เป็นตัวแทนซึ่งแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันฉลาด
– เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวนและภูมิทัศน์ ตลอดจนการ      พัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
– เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว  – เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อ   สร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
– มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น